Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดหนึ่งขนาด 30 เตียง จำนวน 298 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2563-มกราคม 2564 โดยใช้แบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงาน (Maslach Burnout Inventory: MBI) ฉบับภาษาไทย มีความเชื่อมั่นด้านความอ่อนล้าเท่ากับ 0.915 ด้านความเย็นชาเท่ากับ 0.793 และด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงานเท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้วยสถิติ Multiple Linear Regression ตัวอย่าง จำนวน 241 (81.9%) คนที่ตอบข้อมูลครบถ้วน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78 อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 38.4 (10.6) ปีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าในระดับต่ำร้อยละ 65.1 มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความเย็นชาในระดับต่ำร้อยละ 42.5 มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงานระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 47.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้า คือ ภาระงานที่มากเกิน (Badj-1.907;95%CI -3.050 ,-0.765) ความขัดแย้งระหว่างคนกับงาน (Badj -5.355;95%CI -7.316 ถึง -3.394) และสถานภาพสมรส/หม้าย/หย่า/แยก (Badj -1.823;95%CI -3.122 ถึง -0.524) ปัจจัยที่มี ความสัมพั้นธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความเย็นชา คือ ภาระงานที่มากเกิน (Badj -2.148;95%CI - 3.380,-0.917) ความขัดแย้งระหว่างคนกับงาน (Badj -4.345;95%CI-6.459,-2.232) และสถานภาพสมรส/ หม้าย/หย่า /แยก (Badj -2.710;95%CI-4.110,-1.310) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงาน ด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงาน คือ การได้รับผลตอนแทนที่ไม่สมดุลกับงาน (Badj2.134;95%CI 0.112,4.157) การนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปใช้ในการบริหารงานและวางแผนสร้างสถานที่ปฏิบัติงานให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานที่ดีให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเป็นการลดและป้องกันไม่ให้บุคลากรเกิดปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงานในอนาคต