Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตจถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราการเกิดรอยแผลเป็นจากการฉีดวัคซีน BCG ในเด็กแรกเกิดของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา
และหาความสัมพันธ์ของอัตราการเกิดรอยแผลเป็นในเด็กแรกเกิดที่ได้รับการฉีดวัคซีน BCG กับปัจจัยของเด็กแรกเกิดและปัจจัยด้านการแพทย์ โดยเป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองดำเนินการฉีดวัคซีน BCG ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กแรกเกิดที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2541 ถีง วันที่ 31 มีนาคม 2542 โดยแบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 45 คน กลุ่มควบคุม 62 คน เก็บรวบรวมข้อมูลติดตามผลการเกิดรอยแผลเป็นในเด็กที่มารับบริการ ณ คลินิกเด็กดี ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จนอายุครบ 6 เดือน วิเคราะห์สรุบพรรณาเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่บงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูลสุด ค้นหา ตีความบรรยายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เปรียบเทียบการเกิดรอยแผลเป็น และทดสอบหาความสัมพันธ์ทางสถิติในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยของเด็กแรกเกิด ด้านเพศ น้ำหนักแรกเกิด เขตที่พักอาศัยของมารดาของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันและไม่มีการเกิดรอยแผลเป็นจากการฉีดวัคซีน BCG ในเด็กแรกเกิด ส่วนปัจจัยทางด้านการแพทย์ คือ วิธีการฉีดวัคซีน BCG พบว่า เด็กแรกเกิดในกลุ่มทดลองที่ได้รับการฉีดวัคซีนจากผู้วิจัยที่ศึกษาและฝึกทักษะวิธีการฉีดที่มีประสิทธิภาพจะเกิดรอยแผลเป็นมากกว่าเด็กกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฉีดจากพยาบาลประจำหอผู้ป่วยโดยทั่วไป คือ ร้อยละ 95.56 และ ร้อยละ 70.97 ตามลำดับและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.001) ทำให้ทราบว่า ถึงแม้เด็กจะได้รับการฉีดวัคซีน BCG ครบทุกคน วัคซีนก็จะไม่เกิดประสิทธิภาพทุกคน ผลการศึกษาที่ได้เป็นแนวทางให้พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการให้วัคซีน ทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญของการให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรค