DSpace Repository

การฟื้นฟูความจำแบบจำได้ในผู้ป่วยติดสุราโดยใช้โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกด้านร่างกายและจิตใจ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisor สมจิต แดนสีแก้ว
dc.contributor.advisor ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
dc.contributor.author นรากร สารีแหล้
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:54:08Z
dc.date.available 2023-09-18T07:54:08Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10169
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฟื้นฟูความจำแบบจำได้ในผู้ติดสุราโดยใช้โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกด้านร่างกายและจิตใจในผู้ป่วยติดสุราที่มีภาวะบกพร่องทางสมอง ศึกษาการเรียกคืนความจำแบบจำได้ในเชิงพฤติกรรม คลื่นไฟฟ้าสมอง ขณะทำกิจกรรมทดสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดสุรา จำนวน 60 คน จัดกลุ่มอาสาสมัครเข้ากลุ่มด้วยเกณฑ์การคัดกรอง จำนวน 3 กลุ่ม (จำนวนกลุ่มละ 20 คน) กลุ่มทดลองได้รับการฝึกและติดตามผลหลังการทดลองระยะเวลา 6 เดือน และ 9 เดือน เก็บรวมรวมข้อมูลขณะทำกิจกรรมการทดสอบผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากแบบทดสอบ Delayed Matching to Sample (DMS) Paired Associates Learning (PAL) และ Pattern Recognition (PRM) สถิติที่ใช้ ได้แก่ Repeated ANOVA และ 2-way MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า โปรแกรมการฟื้นฟูความจำแบบจำได้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย กิจกรรมบำบัด 6 ครั้ง เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ใช้เวลาในการทำกลุ่ม 1.30 ชั่วโมง หลังการทดลองมีคะแนน เฉลี่ยตอบถูกสูงกว่า และใช้เวลาปฏิกิริยาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลพลังงานสัมบูรณ์ของช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมองย่าน Theta, Alpha, Low Beta และ High Beta ขณะทำกิจกรรมการทดสอบการเรียกคืนความจำแบบจำได้ ได้แก่ แบบทดสอบ DMS, PAL, และ PRM ระหว่างระยะติดตามผล 6 เดือน กับระยะติดตามผล 9 เดือน ในกลุ่มทดลอง ปรากฏว่ากลุ่มทดลองมีค่าพลังงานสัมบูรณ์ของช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมองย่าน Theta, Alpha, Low Beta และ High Beta หลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกบริเวณสมอง ได้แก่ บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า บริเวณเปลือกสมองด้านข้าง และบริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ สรุปได้ว่า การฝึกด้วยโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกด้านร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเพิ่มความจำแบบจำได้ในผู้ป่วยติดสุราได้ในเชิงพฤติกรรม และศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject คนดื่มสุรา
dc.subject ความจำ
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title การฟื้นฟูความจำแบบจำได้ในผู้ป่วยติดสุราโดยใช้โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกด้านร่างกายและจิตใจ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.title.alternative Improving recognition memory in lcohol dependent ptients by using cbt combined with mp progrm: n eeg study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aimed to examine improving remembrance recall among alcoholdependent patients by using a cognitive behavior therapy (CBT) program combined with a mental and physical (MAP) program, studying behavioral memory recall and electrocardiogram data while patients engaged in program activities. The sample consisted of 60 admitted alcohol-dependent patients. They were randomly assigned into one of three groups of equal size. The experimental group were trained and followed up after six months and again after nine months. Data were collected while performing computer screen testing activities using Delayed Matching to Sample (DMS), Paired Associates Learning (PAL), and Pattern Recognition (PRM) and analyzed by using repeated ANOVA and two-way MANOVA. Results indicated that the recollection of memory program was suitable at the highest level. It consisted of six occupational therapy sessions for seven weeks with 90 minutes in each group session. After the experiment, mean scores were higher and reaction times significantly lower than before the experiment (p<.05). Results included a comparison of absolute energy data of the Theta, Alpha, Low Beta, and High Beta EEG frequency ranges during the remembrance recall test activity, including the DMS, PAL, and PRM tests, during sixmonth and nine-month follow-up periods. In the experimental group it was found that the absolute energy values of the Theta, Alpha, Low Beta, and High Beta EEG frequency ranges were significantly higher after training than before training at the .05 level in all brain regions, including the frontal lobe, parietal lobe, and temporal lobe. In conclusion, it was found that CBT combined with MAP can improve recognizable memory in alcoholic patients.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account