DSpace Repository

โปรแกรมการเพิ่มการเลือกใส่ใจตามทฤษฎีบรอดเบนท์สำหรับผู้สูงอายุ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สิริกรานต์ จันเปรมจิตต์
dc.contributor.advisor พูลพงศ์ สุขสว่าง
dc.contributor.author วิทยา พยัคฆันตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:54:07Z
dc.date.available 2023-09-18T07:54:07Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10162
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านทักษะทางปัญญา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเพิ่มการเลือกใส่ใจตามทฤษฎีบรอดเบนท์สำหรับผู้สูงอายุ และศึกษาผลของการใช้โปรแกรมฯ ต่อการเลือกใส่ใจทั้งด้านพฤติกรรม และด้านคลื่นไฟฟ้าสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจากชมรม ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี จำนวน 90 คน ที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนดสุ่มเข้ากลุ่ม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้โปรแกรมการเพิ่มการเลือกใส่ใจตามทฤษฎีบรอดเบนท์กลุ่มใช้โปรแกรมตามแนวคิดแจนนิเชฟสกี้และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้โปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรม Flanker จากชุด ทดสอบ The Psychology Experiment Building Language (PEBL) และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Emotiv EPOC headset จำนวน 14 Channels วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุ ผลการวิจัยปรากฏว่า หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของการตอบสนองมากกว่า และมีค่าเวลาปฏิกิริยาน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และยังพบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของการตอบสนองมากกว่า และมีค่าเวลาปฏิกิริยาน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ ส่วนการศึกษาด้านคลื่นไฟฟ้าสมอง กลุ่มใช้โปรแกรมตามทฤษฎีบรอดเบนท์ และโปรแกรมตามแนวคิดแจนนิเชฟสกี้มีค่ารีเลทีฟพาวเวอร์ (คลื่นเธต้า และคลื่นอัลฟ่า) น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ นอกจากนี้ หลังการทดลองกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการเพิ่มการเลือกใส่ใจตามทฤษฎีบรอดเบนท์ และกลุ่มใช้โปรแกรมตามแนวคิดแจนนิเชฟสกี้มีค่ารีเล ทีฟพาวเวอร์ (คลื่นเธต้า และคลื่นอัลฟ่า) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สรุปได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มการเลือกใส่ใจในผู้สูงอายุได้ ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการพัฒนากระบวนการรู้คิด และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject คลื่นไฟฟ้า
dc.subject ผู้สูงอายุ -- คุณภาพชีวิต
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title โปรแกรมการเพิ่มการเลือกใส่ใจตามทฤษฎีบรอดเบนท์สำหรับผู้สูงอายุ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.title.alternative Selective ttention enhncement progrm bsed on brodbent’s theory for elder dults: electroencephlogrphy study (eeg)
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Older age is associated with an increased risk of developing cognitive problems. This research aimed to develop a selective attention enhancement program based on Broadbent’s Theory for elder adults, and to assess it effectiveness in terms of behavior and electroencephalography studies. The participants were 90 elder adults from the senior citizen club of Saohai Hospital, Saraburi province, who were randomly assigned to experimental group, active control group, and to control group who received no intervention. The research instruments were Flanker task program from the Psychology Experiment Building Language (PEBL) and 14-channel Emotiv EPOC headset. Descriptive statistics, t-test, ANCOVA, and MANCOVA were used to analyze the data. The results revealed that, after training, the experimental and active control groups had a higher score of mean accuracy and a lower response time on the selective attention task when compared to before-experiment conditions (p<.001). Further, after training, the experimental and active control groups showed a higher score of mean accuracy and a lower response time on the selective attention task when compared to the control group (p<.001). It can be concluded that the developed program can enhance the selective attention of elder adults. This will be an alternative way to develop the cognitive processes leading to improving the quality of life of the elderly.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account