Abstract:
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการการตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนต้นทางของไทย ต่างประเทศและในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) พัฒนาระบบการตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนต้นทางสำหรับเทศบาลในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบ มี 3 ระยะ คือ ระยะการศึกษาสถานการณ์เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์อภิมาน และการศึกษาสถานการณ์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีกลุ่มตัวอย่าง คือ รายงานการวิจัยที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วง พ.ศ. 2553 - 2562 และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จาก 8 เทศบาล จำนวน 75 คน ระยะการพัฒนาระบบ เป็นการยกร่างยืนยันระบบ กำหนดกลยุทธ์โดยการสนทนากลุ่มเฉพาะและพัฒนา เป็นแอปพลิเคชันระบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มเดียวกับการศึกษาสถานการณ์และระยะการศึกษาประสิทธิภาพของระบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน และผู้ใช้งาน (ผู้ตรวจสอบ) จำนวน 30 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ประกอบด้วยแบบคัดเลือกรายงานวิจัยแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยแบบสังเคราะห์งานวิจัยแบบตรวจรายการแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีอภิมาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ จากงานวิจัย จำนวน 16 เรื่อง พบว่า งานวิจัยของไทย จำนวน 7 เรื่อง เป็นการศึกษาสถานการณ์การพัฒนารูปแบบที่ เหมาะสม และปัจจัยแห่งความสำเร็จ ต่างจากงานวิจัยของต่างประเทศ จำนวน 9 เรื่อง เป็นการนำนโยบายและข้อกฎหมายลงไปสู่การปฏิบัติและการสร้างจิตสำนึกการวิเคราะห์อภิมาน จากงานวิจัย จำนวน 16 ฉบับ พบค่า ขนาดอิทธิพล ดังนี้ พนักงานเก็บขยะ มีอัตราการเกิดอาการระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 26.2 และคนงานขยะมูลฝอยชุมชน มีอัตราการเกิดอาการปวดหลัง ร้อยละ 67.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนต้นทางในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีจำนวน 21 ข้อ ผลการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า คือ บริบท ชุมชนและเทศบาล จำนวน 10 ปัจจัย ได้แก่ จำนวนประชากรขนาดพื้นที่จำนวนชุมชน จำนวนประชากรแฝง ปริมาณขยะ ประเภทขยะที่มากที่สุด ความหลากหลายของลักษณะชุมชน/วิถีชีวิตของคนในชุมชน ความพร้อมด้าน 4M สภาพปัญหาการย้ายเข้าย้ายออกและสภาพปัญหาการจัดการขยะเขตรอยต่อกระบวนการ คือ การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนต้นทาง ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ 1 การลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน จำนวน 5 ข้อ องค์ประกอบที่ 2 การคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชน จำนวน 9 ข้อและองค์ประกอบที่ 3 การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยชุมชน จำนวน 7 ข้อ และผลลัพธ์ คือ ข้อเสนอทางเลือกในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทาง ประกอบด้วย 1) สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ 2) สิ่งที่ควรดำเนินการเพิ่ม และ 3) สิ่งที่เทศบาลดำเนินการได้ดี/มากกว่าข้อเสนอทางเลือกการพัฒนาเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ใช้กระบวนการ PDCA คือ Plan: การเตรียมข้อมูล Do: การทดสอบอัลกอรึทึมและการสร้างตัวแบบ Check: ตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งาน และ Act: ปรับแก้ไขตามคำแนะนำได้แอปพลิเคชัน “WEECA” และผลการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบได้กลยุทธ์ จำนวน 13 กลยุทธ์ประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งาน (ผู้ ตรวจสอบ) พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (มากกว่าร้อยละค่าเฉลี่ย 80) ทั้งสองส่วน ดังนั้นควรมีการนำข้อค้นพบที่ได้ระบบการตรวจสอบไปใช้ในการวางแผนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนสำหรับเทศบาล