dc.contributor.advisor |
ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา |
|
dc.contributor.advisor |
อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
เบญจมาศ มีทรัพย์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:51:15Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:51:15Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10081 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำและตะกอนแขวนลอย บริเวณปากแม่น้ำตราด จำนวน 6 ครั้งในปี พ.ศ. 2561 โดยมีการสำรวจภาคสนามด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ฟลักซ์สุทธิของน้ำและฟลักซ์สุทธิของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ (แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท, ฟอสเฟต และซิลิเกต) ในเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน, มิถุนายน, สิงหาคม และตุลาคม มีทิศทางไหลจากแม่น้ำออกสู่ทะเล ต่างจากเดือนธันวาคมที่ฟลักซ์สุทธิของน้ำและฟลักซ์สุทธิของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ (ยกเว้นแอมโมเนีย) มีทิศทางการไหลจากทะเลเข้าสู่ปากแม่น้ำ ส่วนฟลักซ์สุทธิของตะกอนแขวนลอยพบว่ามีทิศทางการไหลจากทะเลเข้าสู่ปากแม่น้ำในเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน และธันวาคม มีทิศทางไหลจากแม่น้ำออกสู่ทะเลในเดือนมิถุนายน, สิงหาคม และตุลาคม ปริมาณสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำในน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามปริมาณน้ำท่า (ยกเว้นฟอสเฟตและตะกอนแขวนลอย) โดยมีค่าฟลักซ์สุทธิของน้ำ, แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท, ฟอสเฟต, ซิลิเกต และตะกอนแขวนลอยเฉลี่ยรายปี เท่ากับ 5.81 x 106 m³/day, 985.52 Kg N/day, 26.57 Kg N/day, 1,205.42 Kg N/day, 128.15 Kg P/day, 17,845.25 Kg Si/day และ 128.98 ton/day ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับปริมาณฟลักซ์ของแม่น้ำตราดในปี พ.ศ. 2556 พบว่า ปริมาณฟลักซ์ของสารอาหารส่วนใหญ่ที่ไหลออกสู่ทะเลมี ปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแอมโมเนีย, ฟอสเฟส และซิลิเกตโดยเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงฤดูน้ำน้อย และฤดูน้ำมาก แต่ฟลักซ์ของไนไตรท์และไนเตรทที่ไหลออกสู่ทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้นเฉพาะช่วงฤดูน้ำน้อย ทั้งนี้จากการประเมินคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำตราดพบว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 คือ คุณภาพน้ำเพื่อการเกษตรกรรม |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
เคมีชีวอนินทรีย์ |
|
dc.subject |
ฟลักซ์ (โลหวิทยา) |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์ |
|
dc.subject |
ตะกอนแขวนลอย |
|
dc.title |
ฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำและตะกอนแขวนลอยที่บริเวณปากแม่น้ำตราด จังหวัดตราด ปี พ.ศ. 2561 |
|
dc.title.alternative |
Fluxes of dissolved inorgnic nutrients nd suspended sediment t trt river mouth, trt province in 2018 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aims to study fluxes of dissolved inorganic nutrients and suspended sediment at the Trat River mouth for 6 times of the year 2018. The results showed that the net fluxes of water and dissolved inorganic nutrients (ammonia, nitrite, nitrate, phosphate and silicate) in February, April, June, August and October were directed seaward except in December that the net fluxes of water and dissolved inorganic nutrients (except ammonia) were directed riverward. Suspended sediment fluxes in February, April and December were directed riverward while those in June, August and October were directed seaward. All dissolved inorganic nutrient concentrations (except phosphate and suspended sediment) increase proportionally to the amount of discharge. The annual average of the net fluxes of water, dissolved inorganic, nitrite, nitrate, phosphate, silicate and suspended sediment were 5.81 x 106 m³/day , 985.52 Kg N/day, 26.57 Kg N/day, 1,205.42 Kg N/day, 128.15 Kg P/day, 17,845.25 Kg Si/day and 128.98 ton/day, respectively. Compared with data in 2013, fluxes of all nutrients showed increasing trend during both dry and wet seasons, just fluxes of nitrite and nitrate showed increasing trend only in dry season. All fluxes were directed seaward. Water qualities of the Trat river was evaluated within the standard as surface water classification type 3 (water quality for agriculture). |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วาริชศาสตร์ |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|