DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิภา วิเสโส
dc.contributor.advisor นิภาวรรณ สามารถกิจ
dc.contributor.author สุมิตรา ติระพงศ์ประเสริฐ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:15Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:15Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10080
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง เป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลควรประเมิน และตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความผาสุกทางจิตวิญญาณการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและการสนับสนุนทางสังคมกับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาที่มีค่าคะแนน Palliative Performance Scale 30-60% จำนวน 84 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดช่วงเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความต้องการด้านจิตวิญญาณ แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติและแบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .82, .85, .83 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความต้องการด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับสูง (M = 2.67, SD = 0.12) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการด้านจิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .40, p< .001; r= .36, p< .01, r= .25, p< .05 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองมีความต้องการด้านจิตวิญญาณ ดังนั้นพยาบาลควรจัดทำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ โดยการประเมินความรุนแรงของการเจ็บป่วยส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาให้การสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความผาสุกทางจิตวิญญาณและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะสุดท้าย
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subject จิตวิญญาณ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง
dc.title.alternative Fctors relted to spiritul needs in pllitive cncer ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Spiritual needs of palliative cancer patients is important for nurse to assess and respond for those patients to meet their spiritual well-being. The purposes of this descriptive correlational research design aimed to analyze the relationship between perceived severity of illness, religious practice and social support with spiritual needs in palliative cancer patients. Eighty-four palliative cancer patients, who have a palliative performance scale 30-60%, admitted to of Maharat Nakhon Ratchasima Hospital were recruited into this study by the method of setting the time period. Data were collected during November and December, 2020 using The Demographic Questionnaire, The Spiritual Needs Questionnaire, The Religious Practice Questionnaire, The Multidimensional Scale of Perceived Social Support and The Perceived Severity of Illness Questionnaire. They demonstrated acceptable reliability with Cronbach’s alphas at .82, .85, .83, and .85, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The research results showed that palliative cancer patients had high level of spiritual needs (M = 2.67, SD = 0.12). There was significantly positive relationship between perceived severity of illness, religious practices and social support with spiritual needs (r= .40, p< .001; r= .36, p< .01, r= .25, p< .05 respectively). This research result reveal that the palliative cancer patients had high level of spiritual needs. The findings suggest that nurses should develop nursing guideline for caring and response to spiritual needs of the palliative cancer patients by evaluation the level of severity of illness, supporting religious practices and social support to improve quality the patients’ spiritual well-being and quality of life in the terminal stages.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account