DSpace Repository

ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนเอชพีวีของกลุ่มเยาวชนชายรักชายจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.advisor ยุวดี ลีลัคนาวีระ
dc.contributor.author รัตติยากร มาลาธรรมรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:14Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:14Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10079
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract การติดเชื้อ Human Papilloma Virus [HPV] ในชายรักชายเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากทวารหนักและมะเร็งอื่น ๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีน HPV ของกลุ่มเยาวชนชายรักชายจังหวัดชลบุรีโดยใช้แบบจำลองเชิงบูรณาการเพื่อการทำนายพฤติกรรม (The integrative model: IM) กลุ่มตัวอย่างคือเยาวชนชายรักชาย (อายุ 18-26 ปี) ที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับเพศชายในช่วงชีวิตที่ผ่านมา จำนวน 308 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กระบวนการสุ่มแบบส่งต่อเป็นลูกโซ่ (Respondent Driven Sampling [RDS]) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (E-questionnaire) โดยใช้ Google form ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV และวัคซีน HPV การรับรู้สถานการณ์ในการฉีดวัคซีน HPV ทัศนคติต่อการฉีดวัคซีน HPV การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการฉีดวัคซีน HPV และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีน HPV และความตั้งใจในการฉีดวัคซีน HPV มีค่าสัมประสิทธิ์ KR-20 และครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.75, 0.87, 0.92, 0.83, 0.94 และ0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มเยาวชนชายรักชายในจังหวัดชลบุรีมีค่าคะแนนเฉลี่ย ความตั้งใจในการฉีดวัคซีน HPV อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 13.45, SD = 2.395) 2) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีน HPV (Beta= .402), การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการฉีด วัคซีน HPV (Beta= .246) และการรับรู้สถานการณ์การฉีดวัคซีน HPV (Beta= .161) สามารถ ร่วมกันทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีน HPV ของกลุ่มเยาวชนชายรักชายจังหวัดชลบุรีได้ร้อยละ 37.8 (Adjusted R 2 = .378) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อย่างไรก็ตามประสบการณ์การมีกลุ่มอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำนวนคู่นอน ความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV และวัคซีน HPV และทัศนคติต่อการฉีดวัคซีน HPV ไม่สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีน HPV ของกลุ่มเยาวชนชายรักชายจังหวัดชลบุรีได้ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความตั้งใจในการฉีดวัคซีน HPV ของกลุ่มเยาวชนชายรักชาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV และลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากทวารหนักและโรคมะเร็งอื่น ๆ ต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การให้วัคซีน
dc.subject การให้วัคซีนเด็ก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.title ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนเอชพีวีของกลุ่มเยาวชนชายรักชายจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Predictors of hpv vccine intention mong young men who hve sex with men in chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Human Papilloma Virus [HPV] Infection among men who have sex with men (MSM) is the major cause of mouth, rectum and other cancers. This predictive correlation research aimed at identifying significant predictors of human papillomavirus vaccination intention among young men who have sex with men (YMSM) in Chon Buri Province. The conceptual framework was based on the Integrative Model (IM). The participants of 308 YMSM aged 18-26 years old in Chon Buri, who experienced anal sexual intercourse within lifetime were recruited for the survey using the Respondent Driven Sampling [RDS] process. The research tool was a self-report e-questionnaire based on Google form. Data were collect using questionnaire of personal information, knowledge of HPV and HPV vaccine, situational perceptions of HPV vaccination, attitudes towards HPV vaccine, normative beliefs of HPV vaccination, and selfefficacy to get vaccine. Their KR-20 = .75 and Cronbach’s alpha coefficients were 0.87, 0.92, 0.83, 0.94 and 0.91, respectively. Data were analyzed by using Stepwise multiple regression analysis. The results revealed that: 1) The mean score of intention to take HPV vaccine among YMSM in Chon Buri was at moderate (Mean = 13.45, SD = 2.395). 2) Self-efficacy to get HPV Vaccine (Beta= .402), normative beliefs of HPV vaccination (Beta= .246) and situational perceptions of HPV vaccination (Beta= .161) were significant predictors of intention to take HPV vaccine among YMSM. These significant predictive variables accounted for 37.8 % of the total variance in intention to take HPV vaccine among YMSM in Chon Buri (Adjusted R 2 = .378, p< .01). However, number of sexual partners, knowledge of HPV and the HPV vaccine, and attitudes towards HPV vaccination could not significantly predict intention to take HPV vaccine p> .05). The results suggest that it is useful guidance on promoting HPV vaccination intentions of YMSM in order to prevent HPV infection and reduce the incidence of rectal cancer and other malignant diseases caused by HPV infection.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account