DSpace Repository

การฟื้นฟูความจำเหตุการณ์ในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องโดยใช้โปรแกรมการบริหารนิ้วมือร่วมกับดนตรีบำบัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์
dc.contributor.advisor ยุทธนา จันทะขิน
dc.contributor.author กัลยา มั่นล้วน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:14Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:14Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10077
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract ผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่อง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการบริหารนิ้วมือร่วมกับดนตรีบำบัด และโปรแกรมดนตรีบำบัด และศึกษาผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นต่อสมรรถภาพความจำเหตุการณ์และตัวชี้วัดทางชีวภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่อง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่อง จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูความจำเหตุการณ์ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบริหารนิ้วมือร่วมกับดนตรีบำบัด (กลุ่ม ทดลองที่ 1) และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมดนตรีบำบัด (กลุ่มทดลองที่ 2) วัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการบริหารนิ้วมือร่วมกับดนตรีบำบัด โปรแกรมดนตรีบำบัด กิจกรรมทดสอบความจำเหตุการณ์ และเครื่องมือตรวจตัวชี้วัดทางชีวภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Chi – Square, One – Way ANOVA, Dependent t-test, One – Way ANCOVA และ Correlation Analysis ผลวิจัยปรากฏว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้จำทั้งหมดและค่าดัชนีแยกแยะความเหมือนมากกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้จำและค่าดัชนีการแยกแยะความเหมือน ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีระดับค่าตัวชี้วัดทางชีวภาพน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และที่ระดับ .05 ตามลำดับ อีกทั้งยังพบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างสมรรถภาพความจำเหตุการณ์กับตัวชี้วัดทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า โปรแกรมการบริหารนิ้วมือร่วมกับดนตรีบำบัด สามารถเพิ่มสมรรถภาพความจำเหตุการณ์และลดระดับค่าตัวชี้วัดทางชีวภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน โปรแกรมดนตรีบำบัดไม่สามารถเพิ่มสมรรถภาพความจำเหตุการณ์ได้ แต่สามารถลดระดับค่าตัวชี้วัดทางชีวภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ความจำ
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title การฟื้นฟูความจำเหตุการณ์ในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องโดยใช้โปรแกรมการบริหารนิ้วมือร่วมกับดนตรีบำบัด
dc.title.alternative Rehbilittion of episodic memory in older dults with mild cognitive impirment by using finger fitness combined with music therpy progrm
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Older adults with mild cognitive impairment (MCI) are likely to present an increased risk of developing dementia unless treated. This research aimed to develop a combined finger fitness and music therapy program, and to study its effects on episodic memory performance and biomarkers in older adults with MCI. Sixty older adults with MCI were randomly assigned to a control group who received no intervention program, to experimental group 1 who received the finger fitness combined with music therapy program, and to experimental group 2 who received only the music therapy program. The research design was a 2 Factor pretest – posttest control group design. The research instruments included the Finger Fitness combined with music therapy program, the music therapy program, the mnemonic similarity task, and the instruments necessary for biomarker measurements. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi – Square, one – way ANOVA, dependent t-test, one – way ANCOVA and correlation analysis The results revealed that after training, experimental group 1 had a recognition memory scores average and a lure discrimination index (LDI) higher than that of experimental group 2 and also higher than that of the control group at a statistical significance level of .01. However, the average of recognition scores and the LDI of the experimental group 2 did not differ to that of the control group. Moreover, it was found that after training, experimental group 1 and experimental group 2 both showed a decrease in biomarker levels when compared to the control group at the statistical significance levels of .001 and .05 respectively. In conclusion, the finger fitness combined with music therapy program was effective in increasing episodic memory performance and decreasing biomarker levels in older adults with MCI. However, the music therapy program by itself could not increase episodic memory program although it could decrease biomarker levels in the older adults with MCI.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account