Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงตัวแปรที่มีอิทธิพลกับรูปแบบในการบริหารจัดการองค์กรของ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย (กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)) โดยได้ศึกษาถึงมุมมอง ของผู้บริหารระดับส่วน และศึกษามุมมองของพนักงานที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบในการบริหารจัดการ องค์กรของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้บริหารระดับส่วนของบริษัทชั้นนำทางด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ บริษัท โทเทิ้ล แอ็ค เซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บริษัทเอไอเอส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 13 คน ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ (Non-probability sampling) โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive selection) ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มที่ผู้วิจัยใช้เหตุผลในการเลือกเพื่อความเหมาะสมในการวิจัย โดยเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานในบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องระหว่างแบบสอบถามกับเนื้อหามีค่า IOC = 1.00-0.91 และมีค่าความเที่ยง = 0.88 โดยทำการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติในการหา คุณภาพเครื่องมือด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อทดสอบสมมติฐานในการวิจันั้น ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์รูปแบบในการบริหารจัดการองค์กร ที่ผู้วิจัยได้ศึกษามาทำให้พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัม พันธ์ (R) = 0.68 มีค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด (R2 ) = 0.473 ที่สามารถร่วมพยากรณ์ปัจจัยสู่ความสำเร็จ(การเติบโตของธุรกิจ) ในภาพรวม ได้ร้อยละ 0.473 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 0.247 และตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยสู่ความสำเร็จมากที่สุด คือ ด้านความผูก พันกับองค์กร เนื่องจากมีค่า Beta มากที่สุด 0.483 2.สรุปผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก สามารถสรุปได้ว่า มีตัวแปน 3 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบในการบริหารจัดการองค์กรมากกว่าตัวแปรอื่น ซึ่งได้แก่ 1) ด้านทักษะและความเชี่ยวชาญทางด้านกลยุทธ์ 2) ด้านความเชี่ยวชาญอย่างยั่งยืน และ 3) ด้านการสร้างความผูกพันกับองค์กรและสำหรับด้านปัจจัยสู่ความสำเร็จ (การเติบโตของธุรกิจ) ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมผู้วิจัยได้ค้นพบจากแนวคิดของผู้บริหารองค์กรโทรคมนาคมได้มองว่าเป็นความสำเร็จขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งได้แก่ 1) ด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้น 2) ส่วนแบ่งทางการตลาดและ 3) ภาพลักษณ์องค์กร