dc.contributor.advisor |
สามารถ สายอุต |
|
dc.contributor.advisor |
นิสานารถ กระแสร์ชล |
|
dc.contributor.author |
มัธญาณี โลมจะบก |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:51:07Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:51:07Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10058 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดเจลาตินจากเท้าไก่และศึกษาชนิดและปริมาณของเอนไซม์ที่เหมาะสมในการผลิตเจลาตินไฮโดรไลเสตที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยเจลาตินจากเท้าไก่ที่ถูกเตรียมด้วยกรดพบว่า มีโปรตีน (84.42%) และไฮดรอกซีโพรลีน (27.03%) สูง เมื่อนำมาศึกษาผลของชนิดของเอนไซม์(เปปซิน ทริปซิน ปาเปน และอัลคาเลส) ต่อระดับการย่อยคอลลาเจนจากเท้าไก่และพิจารณาด้วยจลนศาสตร์พบว่า เปปซินมีค่า Km ต่ำกว่าอัลคาเลสและปาเปน (p>0.05) รวมทั้งเปปซินมีราคาซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตถูกกว่าเอนไซม์อีก 3 ชนิด เปปซินจึงถูกเลือกเพื่อเตรียมเจลาตินไฮโดรไลเสตในขั้นตอนการผลิตเจลาตินไฮโดรไลเสตจากเท้าไก่ต่อความสามารถในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันด้วยวิธีพื้นที่ผิวตอบสนองซึ่งออกแบบการทดลองแบบ Central composite design พบว่าสมการที่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างปัจจัยที่ใช้ในการย่อยกับค่าคุณภาพของเจลาตินไฮโดรไลเสต (R2 >90, p ≤0.05) ซึ่งปริมาณเปปซินและระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยมีความสัมพันธ์กับปริมาณโปรตีน (Y1 ) และปริมาณโปรตีนที่ไม่ชอบน้ำ (Y3 ) โดย Y1 และ Y3 เพิ่มมากขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณเปปซิน อีกทั้งสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS (Y4 ) ที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่งและลดลงเมื่อปริมาณเปปซินและระยะเวลาในการย่อยเพิ่มขึ้น และจากการใช้เทคนิคการซ้อนทับกราฟของพื้นที่ผิวตอบสนอง พบว่ามี 4 สภาวะ ได้แก่ สภาวะ Y1 , Y3 , และ Y4 มากที่สุดและสภาวะที่เหมาะสมของแต่ละค่าคุณภาพ (จุดกึ่งกลางระหว่างค่าคุณภาพทั้ง 3 ค่า) โดยได้เลือกจุด Y4 ที่สามารถผลิตเจลาตินไฮโดรไลเสตที่มี ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยเจลาตินไฮโดรไลเสตที่ผลิตจากสภาวะที่เหมาะสมนี้ถูก ประยุกต์ใช้ในไส้กรอกไก่ (ในปริมาณ 1%, 3% และ 5%) การเสริมเจลาตินไฮโดรไลเสตมากขึ้นส่งผลให้มีค่า TBARS ค่าความแข็งค่าพลังงานในการกัด และค่าพลังงานที่ใช้ในการเคี้ยวเพิ่มมากขึ้น แต่มีผลให้มีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดและค่าสีลดลง ในขณะที่การเสริมเจลาตินไฮโดรไลเสตไม่มีผลต่อมีค่า aw ค่าการเกาะติดของ อาหารค่าความยืดหยุ่น ค่าการยึดเกาะกันของอาหารและการประเมินคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส ดังนั้น เจ ลาตินไฮโดรไลเสตจากเท้าไก่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารทางเลือกที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
เจลาติน |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร |
|
dc.subject |
การปรุงอาหาร (เจลาติน) |
|
dc.title |
การสกัดและสมบัติของเจลาตินไฮโดรไลเสตจากเท้าไก่และการประยุกต์ใช้ในไส้กรอกไก่ |
|
dc.title.alternative |
Extrction nd properties of geltin hydrolyste from chicken feet nd its ppliction in chicken susge |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The aims of this study were to gelatin extract from chicken feet, and to optimize the type and amount of enzymes that would provide conditions to obtain a gelatin hydrolysate with the highest antioxidant activity. Gelatin from chicken feet was prepared by acid treatment. Chicken feet gelatin showed high in protein (84.42%) and Hydroxyproline (27.03%). Effect of enzyme types (pepsin, trypsin, papain and alcalase) on degree of hydrolysis of collagen from chicken feet and kinetics were investigated. Pepsin had lower Km than alcalase and papain (p>0.05), which was cheaper than the other enzymes. Pepsin was selected to prepare gelatin hydrolysate. The production of gelatin hydrolysate from chicken feet with antioxidative activities were conducted by using central composite design of response surface methodology. The experimental results showed that there was a good correlation between digestion factor and the quality of gelatin hydrolysate (R2 >90, p≤0.05). Pepsin concentration and digestion time were related to the protein content (Y1 ) and the hydrophobicity protein content (Y3 ). Increasing in pepsin concentration had increased protein content and hydrophobicity value of gelatin hydrolysate. In addition, ABTS radical scavenging activity (Y4 ) was increased up to a certain level and their had decreased, when the pepsin concentration and digestion time was increased. The super impose technique of response surface plots were 4 conditions: Y1 , Y3 , and Y4 conditions at maximum and optimal conditions for each quality value (The middle point between the 3 quality values). The Y4 condition was considered to produce gelatin hydrolysate with the highest ABTS radical scavenger activity. Gelatin hydrolysate produced by the optimum condition was applied in chicken sausages (in the content of 1%, 3% and 5%). Gelatin hydrolysate supplementation affected the TBARS, hardness, gumminess and chewiness increased, while total microbial and color values decreased with increasing gelatin hydrolysate concentration. However, aw , adhesiveness, springiness, cohesiveness and sensory evaluation were not affected by gelatin hydrolysate. Therefore, gelatin hydrolysate from chicken feet can be used as an alternative food ingredient with antioxidant. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|