DSpace Repository

รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กก่อนวัยเรียน ในชนบทภาคอีสาน.

Show simple item record

dc.contributor.author เยาวลักษณ์ บรรจงปรุ th
dc.contributor.author มณีรัตน์ ภาคธูป th
dc.contributor.author รวีวรรณ เผ่ากัณหา th
dc.contributor.author วรรณี บรรเทิง th
dc.contributor.author จุฬาลักษณ์ บารมี th
dc.contributor.author รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ th
dc.contributor.author กุณฑลี จริยาปยุกต์เลิศ th
dc.contributor.author บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร th
dc.contributor.author วาสนา นารักษ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:58Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:58Z
dc.date.issued 2534
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1004
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนในชนบทภาคอีสาน ศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ความคิดเห็น และการปฏิบัติด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก ตลอดจนศึกษาพัฒนาการและประเมินภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ระยะก่อนและหลังการส่งเสริม พื้นที่การวิจัยเป็นพื้นที่เป้าหมายที่โครงการอีสานเขียวได้กำหนดให้ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยการใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต รูปแบบที่ใช้ในส่งเสริมการพัฒนา ได้แก่ ยุทธวิธีการใช้สื่อและการจัดกิจกรรม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้านความรู้ ความคิดเห็น และการปฏิบัติโดยการทดสอบค่าที (t-test) และทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ โดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอแบบบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กก่อนวัยเรียนในชนบทภาคอีสาน จำเป็นต้องอาศัยกลวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้น ชี้นำให้ชุมชนสามารถนำศักยภาพของตนเองและนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ สร้างความเข้าใจและแนวปฏิบัติให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่องค์กรหลักที่เกี่ยวข้อง สร้างความศรัทธาให้เกิดกับผู้นำในระดับท้องถิ่น โดยนำปัจจัยนำเข้าแบบผสมผสาน ซึ่งได้แก่ ยุทธวิธีการใช้สื่อเพื่อแก้ไขปัญหาและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตมาใช้ จากการศึกษาวิจัยด้วยกลวิธีดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ความคิดเห็นและการปฏิบัติในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยส่วนรวมเหมาะสมและถูกต้องเพิ่มขึ้น และจากการเปรียบเทียบด้านความรู้ ความคิดเห็น และการปฏิบัติของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กระยะก่อนและหลังส่งเสริม โดยส่วนรวมแตกต่างกันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และพบว่าผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กบ้านผักแว่น หมู่ที่4 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้และการปฏิบัติในทางบวกสูงกว่าหมู่บ้านอื่น และยังพบว่าพัฒนาการและภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนโดยส่วนรวมดีขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยส่วนโครงการมหาวิทยาลัย ฝ่ายนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือประชาชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โครงการอีสานเขียว) ประจำปีงบประมาณ 2534 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิต - - วิจัย th_TH
dc.subject เด็ก - - การดูแล - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กก่อนวัยเรียน ในชนบทภาคอีสาน. th_TH
dc.title.alternative An appropriated model developed for quality of life of preschool age childen in the North Eastern Rural Area en
dc.type Research
dc.year 2534
dc.description.abstractalternative Quantitative data were analysed using standard statistical methods, including t-test and F-test. The finding from the quantitative component of the study were analysed by examining their contents for the information they provided in relation to the main research question, especially in regard to providing a description of the range and differences among the study population, and a comparison with quantitative findings. It was found that there were significant differences in child development and nutritional status, and the sample population’s knowledge, opinions and practices related to the care of pre-school age children following intervention, between the control and study populations. On the basis of these findings it may be concluded that the intervention model developed is an appropriate and effective means of improving the quality of life or pre-school age children in rural areas of Northern Thailand. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account