Abstract:
การบำบัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายเป็นหนึ่งในการควบคุมสิ่งคุกคามสุขภาพตามขอบเขตงานสุขศาสตร์อุตสาหกรรม กระบวนการโฟโตคะตะไลติกออกซิเดชันเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพปลอดภัย เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และได้รับความนิยม พีแอลเอเป็นพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากพืชถูกนำมาใช้ในการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการสังเคราะห์ TiO2 และพีแอลเอให้เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยาด้วยแสงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีขั้นตอนการผลิตและใช้วัตถุดิบที่น้อยลง ศึกษาปริมาณ TiO2 ที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ด้วยเทคนิคเป่าฟิล์มโดยปริมาณ TiO2 ที่ 5%, 10% และ 15% โดยน้ำหนักเพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดเบนซีนและความคุ้มค่าเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ผลการศึกษาพบว่า PLA ผสมกับ TiO2 เข้มข้นร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนักสามารถสังเคราะห์ด้วยเทคนิคเป่าฟิล์ม จากภาพ SEM พบ TiO2 มีการกระจายตัวบนผิวฟิล์มอย่างสม่ำเสมอ มีแถบช่องว่างพลังงาน 3.14, 3.18 และ 3.22 eV ตามลำดับ โครงสร้างของ TiO2 และ PLA ไม่เปลี่ยนแปลงไปหลังผ่านการเป่าฟิล์ม การบำบัดเบนซีนเข้าได้กับปฏิกิริยาอันดับหนึ่งโดย 5%, 10% และ 15%TiO2 /PLA-composite film มีประสิทธิภาพการบำบัดเบนซีนเท่ากับร้อยละ 44, 42 และ 32 ตามลำดับ ฟิลม์ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5% TiO2 /PLA-composite film มีความคุ้มค่าเชิงนิเวศเศรษฐกิจ