Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จําแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน จากกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนในโรงเรียน สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ปี การศึกษา 2563 จํานวน 118 คน จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ จํานวน 63 ข้อ แบบสอบถามมีค่าอํานาจจําแนก .81 ถึง .95 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .99 การวิเคราะห์ ข้อมูลผู้วิจัยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าความถี่ (F) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของ LSD (Least significant difference) การวิเคราะห์การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลําดับการบริหารงานวิชาการ ตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลําดับ ได้แก่ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดําเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการจัดและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการนิเทศการศึกษา ตามลําดับ 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตหนองใหญ่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จําแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 3. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตหนองใหญ่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จําแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการนิเทศการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ครูโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองใหญ่ ได้ให้แนวทางการบริหารงานวิชาการ ปรากฏผลดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เสนอให้ครูเข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น ด้านการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ เสนอให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน เสนอให้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ครูได้พัฒนาความรู้ เกี่ยวกับวิธี และขั้นตอนการวัดประเมินผล การสร้างเครื่องมือในการวัดผล อย่างหลากหลายด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เสนอให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี เสนอให้จัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ความจําเป็นในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา เสนอให้ส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผนการนิเทศงานวิชาการของโรงเรียน