Abstract:
การมีพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้น ทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การสูบบุหรี่ การมีเพศสัมพันธ์ และการใช้ความรุนแรงกลายเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพหุพฤติกรรมเสี่ยง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพหุพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นชายจังหวัดลพบุรี โดยใช้ทฤษฎีอิทธิพลสามารถสามทางเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชายที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลพบุรี จำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล (อายุ, ระดับการศึกษาและรายได้ของครอบครัว) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน ความเครียดทัศนคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงการรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และความสัมพันธ์ในครอบครัวโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.69-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติกส์ (Binary logistic regression) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพหุพฤติกรรมเสี่ยง ร้อยละ 50.0 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพหุพฤติกรรมเสี่ยงได้แก่ ทัศนคติต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยง (AOR = 12.63, 95 % CI = 6.47-24.68) การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง (AOR = 4.10, 95 % CI = 2.10-8.00) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน (AOR = 3.04, 95 % CI = 1.51-6.12) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (AOR = 1.95, 95 % CI = 1.01-3.78) ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการป้องกันการมีพหุพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเสริมสร้างทัศนคติที่เหมาะสมและมีการรับรู้สมรรถแห่งตนในการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยง สำหรับวัยรุ่นชายไทย