Abstract:
การลดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนดมีความสำคัญในการป้องกันการเจ็บครรภค์ลอดก่อนกำหนด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการดำเนินชีวิตกับการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและครบกำหนดที่รับไว้ดูแลในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จำนวน 160 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 80 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลด้าน ประชากร ร่วมกับข้อมูลการทำงาน การยืนนาน การสัมผัสบุหรี่มือสอง 2) แบบประเมินคุณภาพ การนอนพิตส์เบิร์กและ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ chi-square test และสถิติ point biserial correlation coefficient ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการนอนหลับเชิงอัตนัย และผลกระทบต่อการทำกิจกรรมในเวลากลางวัน มีความสัมพันธ์กับการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ระดับ .05 (X 2 = 9.014, df = 1, p = .001, และ X 2 = 7.241, df = 1, p = .006) มีข้อเสนอแนะให้พยาบาลผดุงครรภ์ จัดกิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดปัญหาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด