กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9996
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of the resilience promoting progrm on self-mngement behvior nd hemoglobin 1c level mong older people with dibetes |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วารี กังใจ สหัทยา รัตนจรณะ สิชล ทองมา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ เบาหวานในผู้สูงอายุ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ทําให้ผู้สูงอายุต้องประสบกับปัญหาและภาวะแทรกซ้อนของโรค ทําให้ต้องมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อเผชิญปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบ หากผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีความยืดหยุ่นที่ดีจะสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะเจ็บปูวยซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ยากลําบากในชีวิตได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์การจัดการด้วยตนเองและตรวจระดับฮีโมโกลบินเอวันซีด้วยเครื่องมือ H9 HbA1c Analyzer วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบค่าที สถิติวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียววัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซีของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลอง ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมากกว่า ระยะก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) และค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซีของกลุ่มทดลองในระยะติดตามผลน้อยกว่าระยะก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p < .01) และพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานประจําโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหรือพยาบาลที่ปฏิบัติงานประจําคลินิกหมอครอบครัวควรนําโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นไปใช้กับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่เหมาะสม และค่าระดับฮีโมโกลบินเอวันซีลดลง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9996 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59920051.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น