กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9995
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to helth behvior of elderly with recurrent stroke
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชัย จูลเมตต์
นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
ชัยยุทธ โคตะรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
โรคหลอดเลือดสมอง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยสถิติผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้้าของสถาบันประสาทในปีพ.ศ. 2558-2560 มีจำนวน 125, 130 และ 137 ราย ตามลำดับ ดังนั้นการปฎิบัติพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำการวิจัยเชิงพรรณาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดกลับเป็นซ้ำกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่ได้รับการ วินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งที่ 2 เป็นต้นไป และมารับการตรวจที่คลินิกประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยากรุงเทพมหานคร จำนวน 88 รายได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำแบบสัมภาษณ์การรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำแบบสัมภาษณ์การรับรู้ความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำแบบสัมภาษณ์ การรับรู้ประโยชน์ของการปฎิบัติพฤติกรรมสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การรับรู้อุปสรรคของการปฎิบัติ พฤติกรรมสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การรับรู้สิ่งชักนำให้สู่การปฎิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .73 .85 .80 .81 .73 .73 และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ มีพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับสูง (M = 60.19, SD = 6.981, Max = 71, Min = 45) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (r = .31, p < .01) และการรับรู้สิ่งชักน้าให้สู่การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (r = .31, p < .01) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ (r = .22, p < .05) การรับรู้ความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมองการกลับเป็นซ้ำ (r = .22, p < .05) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (r = .20, p < .05) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพมี ความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.27, p < .01) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำและนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบ หรือส่งเสริมกิจกรรมการพยาบาลเพื่อเป็นการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9995
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920045.pdf3.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น