กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9994
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing mentl helth mong professionl nurses working in fctories
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
สิริภา ศรีสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: พยาบาล -- สุขภาพจิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สุขภาพจิตเป็นส่วนสำคญัของบุคคลซึ่งรวมทั้งพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุขแต่ละบุคคลจะมีภาวะสุขภาพจิตที่แตกต่างกันไปและมีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิต การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณสมบัติตรงตามที่งานวิจัยกำหนด จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแบบสอบถามแบ่งได้เป็น 7 แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ภาวะสุขภาพจิต 3) การรับรู้ภาวะสุขภาพ 4) การรับรู้ความสามารถในการทำงาน 5) ความเครียดจากการทำงาน 6) ความสมดุลชีวิตกับการทำงาน และ 7) การสนับสนุนจากครอบครัวได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่ 2 ถึง 7 เท่ากับ .93, .82, .94, .91, .73, และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้น ตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิตเท่ากับ 2.38 (SD = 3.01) ร้อยละ 19.83 ของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนภาวะสุขภาพจิตตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไปซึ่งถือว่ามีปัญหาสุขภาพจิตตัวแปรคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (β = -.302, p=0.000) ความสมดุลชีวิตกับการทำงาน (β = -.232, p = 0.006) ความเครียดจากการทำงาน (β = .193, p= 0.022) และการสนับสนุนจากครอบครัว (β = -.178, p= 0.027) โดยสามารถร่วมทำนายภาวะสุขภาพจิตได้ร้อยละ 49.16 (R 2 = .491, p< 0.001) ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ในการมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม ควรให้ความสำคัญในการดูแลและส่งเสริมภาวะสุขภาพแห่งตน บริหารการใช้ชีวิตส่วนตัวกับการทำงานให้สมดุลกัน จัดการกับความเครียดจากการทำงานที่เหมาะสม และได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ผู้บริหารของโรงงานตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมการบริหารจัดการด้านการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตให้กับบุคคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงงานด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9994
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920043.pdf2.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น