กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9993
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Selected fctors relted to comfort of dvnced cncer ptients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุพิน ถนัดวณิชย์
วัลภา คุณทรงเกียรติ
จุฬาลักษณ์ อินทะนิล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
มะเร็ง -- ผู้ป่วย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคมะเร็งระยะลุกลาม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ได้ตามปกติและมีการพัฒนาของโรคอยู่ในระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การเจ็บป่วยนี้สามารถส่งผลกระทบต่อความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ-จิตวิญญาณ สังคม-วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสุขสบาย และปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม หรือมีระยะของโรคมะเร็งอยู่ในระยะที่ 3 หรือ 4 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดที่ได้เข้ารับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ หอผู้ป่วยสามัญหญิง และหอผู้ป่วยสามัญชายโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 84 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความสุขสบายของผู้ป่วยแบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามอาการซึมเศร้าที่มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาคอนบาคเท่ากับ .94, .93, .92 และ .80 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมิน ความปวดมีค่าความเชื่อมั่นคงที่แบบวัดซ้ำ เท่ากับ .99 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนตัวแปรความปวดใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์สเปียแมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสุขสบายในระดับมาก (M= 225.25, SD = 26.25) ความปวด และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขสบายอย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติ (rs = - .230, p< .05 และ r= - .543, p < .01 ตามลำดับ) แต่ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขสบายอย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติ (r= .566, p< .01 และ r= .544, p< .01 ตามลำดับ) ดังนั้น ผู้ให้การบริการสุขภาพโดยเฉพาะพยาบาลควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลส่งเสริมความสุขสบายแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม โดยการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณให้กับผู้ป่วยร่วมกับให้การพยาบาลจัดการความปวดและภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9993
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910183.pdf4.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น