กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9992
ชื่อเรื่อง: ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน : กรณีศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prehospitl dely in fmily members of ptients with cute ischemic stroke: cse study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เขมารดี มาสิงบุญ
วัลภา คุณทรงเกียรติ
วิไลภรณ์ สว่างมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมอง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันมาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ช้ากว่า 210 นาที (3.5 ชั่วโมง) จำนวน 85 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด และกำหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความตระหนักในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และแบบสอบถามการจัดการอาการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77, .63, .95, และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันนำผู้ป่วยมา โรงพยาบาลช้า เฉลี่ย 1,768 นาที (ประมาณ 29.5 ชั่วโมง) มีคะแนนเฉลี่ยของทุกปัจจัยที่ศึกษาค่อนข้างต่ำ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (M = 17.5, SD = 3.20) ความตระหนักในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน (M = 1.68, SD = 0.47) การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน (M = 29.29, SD = 24.69) และมีการจัดการอาการของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันไม่ถูกต้อง (M = 1.8, SD = 0.96) ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมให้ญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน มีความรู้ ความตระหนักรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และมีการจัดการอาการที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ป่วยมารับการรักษาได้ทันเวลา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9992
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910180.pdf2.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น