กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9991
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing uncertinty in illness mong cncer ptients undergoing chemotherpy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุพิน ถนัดวณิชย์
วัลภา คุณทรงเกียรติ
วิภาดา ตรงเที่ยง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มะเร็ง -- การรักษาด้วยรังสี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
มะเร็ง -- การบำบัดด้วยแสง
มะเร็ง -- การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคมะเร็งเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิต การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ซับซ้อนและมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง ไม่สามารถทำนายผลการรักษาได้แน่ชัดทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานทางจิตใจ การวิจัยความสัมพันธ์ เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และมาพบแพทย์เพื่อรับยาเคมีบำบัดตามนัดที่หอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 85 ราย ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยแบบประเมินความหวังของเฮิร์ท แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .83.84.86.83 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยความหวัง และภาวะซึมเศร้าในระดับสูง (M = 159.52, 83.41, 44.2 และ 15.52, SD = 5.05, 4.66, 4.01 และ 3.32 ตามลำดับ) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูงมาก (M = 73.74, SD = 6.61)และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการเกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม โดยสามารถร่วมทำนายการเกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้ร้อยละ 18.6 (R 2 = .186, p < .05) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดยังต้องเผชิญกับการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยของตนเองมาก และมีภาวะซึมเศร้าสูงทำให้เกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในระดับสูงเช่นกัน ดังนั้นพยาบาลควรพัฒนาการพยาบาล รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนทางสังคมให้เพียงพอเพื่อช่วยลดการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย ภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9991
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910177.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น