กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9990
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ | |
dc.contributor.advisor | นฤมล ธีระรังสิกุล | |
dc.contributor.author | สุกัญญา พินหอม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:43:52Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:43:52Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9990 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย และเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีการชี้แนะมารดา เพื่อให้มีพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อน และหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการชี้แนะมารดาต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ ตัวอย่าง คือ มารดาของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบครั้งแรกและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 44ราย คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 รายเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการชี้แนะมารดาเด็กโรคปอดอักเสบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การตกลงร่วมกัน 2) การประเมิน และวิเคราะห์ปัญหา 3) การสะท้อนปัญหา และการวางแผนปฏิบัติ 4) การปฏิบัติตามแผนกิจกรรม และ 5) การประเมินผลการปฏิบัติ กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคทั้งฉบับ เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะมารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t 42= 10.13, p= < .001) และสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการชี้แนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 21= 16.71, p< .001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลสามารถนำโปรแกรมการชี้แนะไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมให้มารดามีพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบที่ถูกต้องเหมาะสม | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก | |
dc.subject | ปอดอักเสบในเด็ก | |
dc.title | ผลของโปรแกรมการชี้แนะมารดาต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ | |
dc.title.alternative | Effect of mternl coching progrm on mternl behviour in cring for children with pneumoni | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Globally, pneumonia is the leading cause death in children under 5 years old. Thus any intervention to improve mothers’ behavior in caring for children with pneumonia is important. This research used a quasi-experimental design (two group pretest-posttest) to examine the effect of a maternal coaching program on mothers’ behavior in caring for children with pneumonia. The sample was 44 mothers with children under 5 years of age at first admission for pneumonia in the Phra Nakhon Si Ayutthaya hospital, Phra Nakhon Si, Ayutthaya province. The sample was divided into experimental and control groups (n= 22 per group). Data were collected from June to September 2019. The experimental group received a maternal coaching program based on Girvin (1999), which is comprised of 5 steps: 1) agreeing on the context; 2) assessment and analysis; 3) reflection and development planning; 4) action planning, and; 5) evaluation. The control group received regular nursing care. Data were collected by the maternal behavioral in caring for children with pneumonia questionnaire, which had a Cronbach’s alpha of .85. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-test, and paired t-test. After receiving the coaching program, the experimental group’s posttest mean score for maternal behavior in caring for children with pneumonia was significantly higher than its pretest score (t 21= 16.71, p< .001). The experimental group’s posttest mean score was also significantly higher than the control group’s (t 42= 10.13, p= < .001). The results suggest that nurses can apply this coaching program to improve maternal care behavior for children with pneumonia. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเด็ก | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
60910040.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น