กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9989
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.advisorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.authorชรินทร ผ่องกมลกุล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:52Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:52Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9989
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractโรคปอดอักเสบเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี การส่งเสริมให้มารดามีพฤติกรรมการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบที่ถูกต้อง และเหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะมารดาโดยใช้สื่อผ่านสมาร์ทโฟนต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่มีอายุ 1 เดือน ถึง 5 ปีที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ15 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะมารดาโดยใช้สื่อผ่านสมาร์ทโฟน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะมารดาโดยใช้สื่อผ่านสมาร์ทโฟน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบ มีค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองมารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบสูงกว่า กลุ่มควบคุมและสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 28= -4.43, p < .001, t 14 = 8.98, p < .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะมารดาโดยใช้สื่อผ่านสมาร์ทโฟนมีประสิทธิภาพ พยาบาลเด็กสามารถนำโปรแกรมไปใช้กับมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคปอดอักเสบเพื่อช่วยส่งเสริมให้มารดามีความมั่นใจในการปฏิบัติกิจกรรมการการดูแลบุตรป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.subjectปอด -- โรค
dc.subjectปอดอักเสบในเด็ก
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะมารดาโดยใช้สื่อผ่านสมาร์ทโฟนต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบ
dc.title.alternativeEffect of mternl self-efficcy enhncement progrm using medi through smrtphone on mternl behvior in cring for children with pneumoni
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativePneumonia, a lower respiratory tract infection, is the leading cause of death in children under 5 yearsof age worldwide. Thus enhancing mothers’ appropriate caring behaviors is important. This quasi-experimentalresearch used a pretest-posttest design to examine the effect of a smartphone-delivered self-efficacyenhancement program on maternal behavior in caring for children with pneumonia. Participants were 30 mothers of children age 1 month to 5 years admitted for the first time for pneumonia to the Pediatric Ward, Chonburi Hospital, Chonburi Province. The convenience sample was assignedto experimental and control groups (15 per group). Data were collected from September to November 2019. The experimental group received the intervention: a self-efficacy enhancement program delivered via smartphone. The control group received routine care. Data-collection instruments were ageneral information questionnaire and the maternal behavior in caring for children with pneumonia questionnaire. Cronbach’ s alpha coefficient was .85. Data were analyzed viadescriptive statistics, independent t-test, and paired t-test. The findings revealed that after receiving the smartphone-delivered self-efficacy enhancement program, the experimental group’s posttest mean score for maternal behavior in caring for children with pneumonia was significantly higher than its pretest score (t 14= 8.98, p < .001) and significantly higher than the control group’s posttest mean score (t 28= -4.43, p < .001). The results indicate that the smartphone-delivered maternal self-efficacy enhancement program was effective. Nurse can use the smartphone-delivered self-efficacy enhancement program to enhance maternal ability in caring for children with pneumonia.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเด็ก
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60910028.pdf3.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น