กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9986
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุพิศ ศิริอรุณรัตน์ | |
dc.contributor.advisor | วรรณทนา ศุภสีมานนท์ | |
dc.contributor.author | วิไลลักษณ์ เผือกพันธ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:43:51Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:43:51Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9986 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การคลอดก่อนกำหนดทำให้มารดาเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัม พันธ์ระหว่างน้ำหนักทารกแรกเกิดความผาสุกของมารดาการรับรู้ความผาสุกของทารก ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนจากพยาบาลกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่คลอดก่อนกำหนดที่ทารกเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วยหรือหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลมหาสารคาม และมาเยี่ยมบุตรในระยะเวลา 2 สัปดาห์หลังทารกแรกเกิดเข้ารับการรักษาตัว จำนวน 110 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ความผาสุกของมารดา การรับรู้ความผาสุกของทารก ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนจากพยาบาลเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ร้อยละ 50.90 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (r= -.385, p< .001) ความผาสุกของมารดา (r= -.353, p< .001) การรับรู้ความผาสุกของทารก (r= -.344, p< .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่น้ำหนักแรกคลอดของทารก และการสนับสนุนจากพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จากผลวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการป้องกัน การเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่คลอดก่อนกำหนด โดยส่งเสริมให้มารดาที่มาเยี่ยมทารกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความผาสุกในตนเอง และการรับรู้ความผาสุกของทารก | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ความซึมเศร้า | |
dc.subject | การคลอดก่อนกำหนด | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาคลอดก่อนกำหนด | |
dc.title.alternative | Fctors relted to postprtum depression mong mothers of preterm infnts | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Preterm labor causes maternal postpartum depression. The purpose of this descriptive correlational study was to examine the relationship between infant birth weight, maternal well-being, perceived infant well-being, self-esteem and nurse support, and postpartum depression among mothers of preterm infants. A simple random sampling method was used to recruit 110 mothers of preterm infants hospitalized in a sick newborn or neonatal intensive care unit at Khon Kaen Hospital, Roi Et Hospital, and Maha Sarakham Hospital, who visited their infants for two weeks after their infants’ hospitalization. Research instruments included questionnaires to gather data for demographic information, postpartum depression, maternal well-being, perceived infant well-being, self-esteem and nurse support. Data was collected during the period of May to December, 2019. Descriptive statistics, Pearson's correlations coefficient and Spearman's rank correlations coefficient were employed for data analysis. The results revealed that postpartum depression among mothers of preterm infants was found in 50.90 %. For correlation analysis, postpartum depression was significantly moderate negatively correlated with self-esteem (r= -.385, p< .001), maternal well-being (r= -.353, p< .001), and perceivedinfant well-being (r= -.344, p< .001). While infant birth weight and nurse support were not significantly correlated with postpartum depression. These findings suggest that nurse should apply these study results toprevent postpartum depression among mothers of preterm infants hospitalized by promoting self-esteem, maternal well-being, and perceived infant well-being. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การผดุงครรภ์ | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59910028.pdf | 4.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น