กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9985
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.advisorนฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.authorวัชรี พรหมประกอบ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:51Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:51Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9985
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractโรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน เด็กวัยนี้จึงต้องมีการส่งเสริมการจัดการตนเองอย่างเหมาะสมเพื่อให้มีการควบคุมโรคหืดที่มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคหืดของเด็กวัยเรียนโรคหืด กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัย เรียนโรคหืดที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดของโรงพยาบาลในจังหวัดระยองระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดการจัดการตนเองของ Creer (2000) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การตั้งเป้าหมาย 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล 3) การประมวลและประเมินข้อมูล 4) การตัดสินใจ 5) การลงมือปฏิบัติ และ 6) การประเมินผลการปฏิบัติส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมโรคหืดของเด็กวัย เรียนโรคหืด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมโรคหืดของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (t 38 = 12.72, p< .001) และสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 19 = 21.21, p< .001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองนี้มีประสิทธิภาพ ผู้ให้การดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามบริบท เพื่อส่งผลให้เด็กวัยเรียนโรคหืดมีการควบคุมโรคหืดที่ดีได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.subjectหืดในเด็ก
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคหืดของเด็กวัยเรียนโรคหืด
dc.title.alternativeEffects of the self-mngement progrm on sthm control behviors of school-ge children with sthm
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeAsthma, a leading chronic conditionand reason for hospitalization among children, is triggered by and can exacerbate other negative health conditions, especially in school-age children. With the proper self-management program, asthmatic children can effectively control their asthma symptoms. The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of a self-management program on asthma control behaviors of school-age asthmatic children. Participants were school-age children with asthma who receivedcare in the asthma clinic of a hospital in Rayong province between October 2561 and March 2562. They met the inclusion criterion and were randomly assigned into experimental (n= 20) and control groups (n= 20). The experimental group received a researcher-developed self-management program based on Creer’s (2000) self-management concept. The control group received routine care. The selfmanagementprogram’s sixsteps were: 1) goal selection;2) information collection;3) information processing and evaluation;4) decision making;5) action, and;6) self-reaction. Data were collected via the researcher-developed asthma control behaviors in school-age children with asthma questionnaire, which had a reliability coefficient of 0.90. Data were analyzed by descriptive statistics, paired t-test and independent t-test. The results revealed that for the experimental group, meanasthma control behavior post-test scores were significantly higher than mean pre-test scores (t 19 = 21.21, p< .001). Also, after receiving the program, the experimental grouphad significantly higher average asthma control behavior scores than did the control group (t 38 = 12.72, p< .001). The conclusion is that this self-management program is effective. Nurses could use this program with school-age children with asthma to improve asthma control behavior.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเด็ก
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910028.pdf3.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น