กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9930
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of behvior bsed sfety (bbs) progrm on sfety t work behviors mong clening personl in tertiry hospitl, pthumthni province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
นันทพร ภัทรพุทธ
กนกวรรณ วรปัญญา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: พนักงานทำความสะอาด
พนักงานทำความสะอาด -- มาตรการความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาด ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาด และเพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานทำความสะอาดก่อน และหลังการนำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย ใช้เวลาดำเนินการ 4 สัปดาห์ประกอบด้วยขั้นตอน 1) การค้นหาพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย 2) การสังเกตพฤติกรรมเป้าหมาย 3) ส่งเสริมปรับปรุงพฤติกรรม 4) วัดผลการส่งเสริมและปรับปรุงพฤติกรรมเก็บข้อมูล ด้วยแบบวัดพฤติกรรมภายนอกเพื่อสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม และแบบวัดพฤติกรรมภายใน ประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.44 ปี (SD = 9.125) ส่วนใหญ่จบระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 80.0 ปฏิบัติงานอยู่แผนกดูแลผู้ป่วยใน (IPD) ร้อยละ 56.0 รองลงมาคือ ปฏิบัติงานอยู่แผนกอื่นๆ ร้อยละ 32.0 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 1-5 ปี ร้อยละ 64.0 ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 6.16 ปี (SD = 7.180) ระยะเวลาการปฏิบัติงานต่ำสุด 1 ปี ระยะเวลาการปฏิบัติงานสูงสุด 30 ปี ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ 84.0 และเคยได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ร้อยละ 64.0 จากการสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเปอร์เซ็นต์แนวโน้มพฤติกรรมเป้าหมาย โดยรวมดีขึ้น พนักงานทำความสะอาดสามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมเป้าหมายครบ 100% ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป และยังคงปฏิบัติตามพฤติกรรมเป้าหมายได้ครบ 100 % จนถึงสัปดาห์ที่ 4 ก่อนการวิจัยกลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยในภาพรวมซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาดก่อนทดลองเท่ากับ 154.52 หลังทดลองเท่ากับ 163.20 เปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมความปลอดภัยในภาพรวมระหว่างก่อนทดลองและหลังทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยในภาพรวมก่อนและหลังทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p< 0.001) ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยสามารถช่วยพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานทำงานสะอาดได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9930
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920188.pdf887.09 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น