กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/990
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพิมพ์ทอง ทองนพคุณth
dc.contributor.authorสนอง เอกสิทธิ์th
dc.contributor.authorอรุณี เทอดเทพพิทักษ์th
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ จันทร์ดวงth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:57Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:57Z
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/990
dc.description.abstractไข่มุกเป็นหนึ่งในอัญมณีอินทรีย์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากความวาว ความสวยงาม และเหลือบสีรุ้งของผิวบุก เนื่องจากสีมีผลต่อราคาของไข่มุกทำให้มีการปรับปรุงสีของไข่มุกให้มีความหลาหลายด้วยวิธีทางธรรมชาติและการปรุงแต่งภายหลังด้วยวิธีทางเคมี และจากการกำเนิดไข่มุกธรรมชาติที่จะต้องใช้เวลานาน จึงมีการผลิตไข่มุกปลอมมาจำหน่ายในตลาดอัญมณีจำนวนมาก งานวิจัยนี้นำเสนอการย้อมสีไข่มุกให้ได้สีดำ ไข่มุกน้ำจืดสีขาวถูกนำมาย้อมสีด้วยสารละลายวิลเวอร์ไนเตรทในแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ ความเข้มของสีที่ได้หลังย้อมขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายไนเตรท ระยะเวลาในการย้อม และลักษณะพื้นผิวของไข่มุก การวิเคราะห์ความแตกต่างของไข่มุกธรรมชาติ ไข่มุกย้อมสี และไข่มุกปลอมด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีเชิงโมเลกุล ได้แก่ ยูวีวิวิเบิลสเปกโทรสโกปี อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี และรามานสเปกโทรสโกปี สามารถจำแนกไข่มุกธรรมชาติจากไข่มุกย้อมสีและไข่มุกปลอมได้ ยูวีวิวิเบิลสเปกตรัมของไข่มุกจะมีแถบการดูดกลืนแสงสูงสุดที่ตำแหน่ง 315 nm เหมือนกัน ซึ่งต่างจากสเปกตรัมของไข่มุกปลอมอย่างขัดเจน การตรวจวิเคราะห์ด้วยอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี โดยใช้เทคนิคเอทีอาร์ประสบความสำเร็จในการนำมาวิเคราะห์ไข่มุกเนื่องจากเป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายตัวอย่าง อย่างไรก็ตามเทคนิคการเตรียมตัวอย่างในการวิเคราะห์ด้วยอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีทุกเทคนิคไม่สามารถ จำแนกความแตกต่างระหว่างไข่มุกธรรมชาติและไข่มุกที่ย้อมด้วยสารละลายซิลเวอร์ไนเตรท เนื่องจากไข่มุกทั้งสองชนิดแสดงแถบดูดกลืนที่เหมือนกันคือ มีพีคการดูดกลืนที่ตำแหน่ง 841, 1083, 1461 และ 1441 cm-1 ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีโครงสร้างอะราโกไนท์ แต่สามารถจำแนกไข่มุกปลอม และไข่มุกย้อมสีชนิดอื่น ๆ ได้ ในขณะที่รามานสเปกโทรสโกปีสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างไข่มุกย้อมสีดำด้วยสารละลายซิลเวอร์ไนเตรทได้จากพีคการดูดกลืนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่ตำแหน่ง 570 cm-1 ซึ่งเป็นพีคที่สัมพันธ์กับ Ag-O ที่เกิดจากออกไซด์ของเงินที่ผิวของไข่มุกที่ผ่านการย้อมชนิดนี้ และมีแนวโน้มที่จะสามารถจำแนกไข่มุกน้ำเค็มและน้ำจืดได้เนื่องจากรามานสเปกตรัมของตัวอย่างไข่มุกน้ำเค้มส่วนใหญ่ที่นำมาวิเคราะห์จะเกิดฟลูออเรสเซนต์th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (โครงการต่อเนื่อง : ปีที่ 1)en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์สเป็กตรัมth_TH
dc.subjectรามานสเปกโทรสโกปีth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.subjectอัญมณี - - การวิเคราะห์th_TH
dc.subjectไข่มุก - - การจำแนกth_TH
dc.titleการพัฒนาเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่างสำหรับตรวจสอบและจำแนกไข่มุกและอัญมณีเลียนแบบไข่มุกโดยใช้แสงในช่วงอินฟราเรด วิสิเบิล และอัลตราไวโอเล็ตth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of nondestructive characterization techniques for differentiation between pearl and imitation pearl using infrared, visible and ultraviolet radiationsth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2551
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น