กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/975
ชื่อเรื่อง: ฟองน้ำทะเล : การค้นหาสารประกอบเคมีกับฤทธิ์ทางชีวภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine sponges : discovery of compounds with bioactivities potential
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รวิวรรณ วัฒนดิลก
วรรณภา กสิฤกษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ฟองน้ำ
ฟองน้ำทะเล
แบคทีเรีย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นของสารสกัดหยาบจากฟองน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 32 ตัวอย่าง พบว่า (ก) สารสกัดหยาบจากฟองน้ำ 16 ตัวอย่างแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ระดับไม่รุนแรงจนถึงปานกลางกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Escherichia coll, M. leteus เชื้อราและยีสต์ Mortierella ramanniana, Mucor hiemalis, Candida albicans, C. catenulata, Hanseniaspora guilliermondii, Schizosaccharomyces pombe และ Pichia kluyveri (ข) สารสกัดหยาบจากฟองน้ำ 4 ตัวอย่างแสดงฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง KB (oral human epidermal carcinoma); NCI-H187 (human small cell lung) และ BC (breast cancer cell) (ค) สารสกัดหยาบฟองน้ำ 10 ตัวอย่างแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ปาก (ง) สารสกัดหยาบจากฟองน้ำเกือบทุกตัวอย่างแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Mycobacterium tuberculosis H37Ra (จ) สารสกัดหยาบฟองน้ำทุกตัวอย่างไม่แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบ จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดฟองน้ำ Hyrtios erecta ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S.aureus, B. subtilis และ M. leteus และฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง NCI-H187 และ BC สามารถแยกสารประกอบอัลคาลอย์ 2 ชนิดได้แก่ สารต้านเชื้อแบคทีเรีย 5-hydroxyindole-3-carbaldehyde และสาร hyrtiosin A รวมถึงสารกลุ่ม scalarane sesterterpenes 3 ชนิด ได้แก่ scalarolide, heteronemin และ 16-deoxyscalarolide นอกจากนี้สาร 5-hydroxyindole-3-carbaldehyde มีฤทธิ์ต้านเชื้อ B. subtilis ส่วนองค์ประกอบทางเคมีของฟองน้ำ O. sagittaria สามารถแยกสารประกอบได้ 2 ชนิด ได้แก่ Kuanoniamines A และ C จากการประเมินฤทธิ์ต้านเซลมะเร็ง 5 cell lines และอีก 1 non-tumour cell line พบว่าสาร kuanoniamine A มีฤทธิ์ที่รุนแรงในการยับยั้งเซลมะเร็งทุกชนิดที่ทดสอบ ส่วนสาร kuanoniamine Cมีฤทธิ์ที่รุนแรงน้อยกว่าและสารนี้ยังมีความเฉพาะเจาะจงสูงต่อเซลมะเร็ง MCF-7 (breast carcinoma) ด้วย ส่วนฟองน้ำ Haliclona sp. พบว่ามีฤทธิ์ต้านเซลมะเร็ง KB, NCI-H187 และ BC จากการแยกสารโดยใช้เทคนิคโครมาโตกราฟฟี สามารถแยกสารประกอบที่ยังไม่ทราบสูตรโครงสร้าง 5 สารประกอบ (unknown 1-5) นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาสารสกัดชั้นบิวธานอลของฟองน้ำ Halichondria sp. พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S.aureus, B.subtilis และเชื้อรา M. ramaniana, M. hiemalis สามารถแยกสารประกอบที่ยังไม่ทราบสูตรโครงสร้าง 1 สารประกอบ ได้แก่ สารต้านเชื้อแบคทีเรีย unknown 6
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/975
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น