กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/972
ชื่อเรื่อง: ตัวกรองชีวภาพจากวัสดุธรรมชาติสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มเชิงเศรษฐกิจ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัฒนา ภูลเปี่ยม
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: น้ำเสีย - - การบำบัด - - การกรอง
ฟิล์มชีวภาพ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แบคทีเรียดีไนตริไฟอิง จำนวน 24 ไอดซเลต คัดแยกได้จากตัวอย่างดิน 14 ตัวอย่าง กำหนดรหัสเป็น DNB 1-24 เมื่อทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์ไนเตรทของแบคทีเรียในอาหารเหลวไนเตรท ปรากฏว่าไอโซเลท DNB 20 มีประสิทธิภาพสูงสุดและไม่พบการเจริญบนอาหาร TCBS agar เมื่อทดลองเลี้ยงฟิล์มชีวภาพของ DNB 20 บนท่อนไม้ไผ่ เปลือกหุ้มลูกมะพร้าวสับเป็นก้อนและพลาสติกไบโอบอล เป็นเวลา 192 ชั่วโมง พบจำนวนแบคทีเรียที่มีความสามารถในการรีดิวซ์ไนเตรทในฟิล์มชีวภาพเท่ากับ 4.58x10 9, 5.87 x 10 9 และ 1.89 x 10 7 MPN/ ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อศึกษาประสิทธิภาพของฟิล์มชีวภาพบนตัวกลางเปลือกหุ้มลูกมะพร้าวสับเป็นก้อนในการกำจัดไนเตรทในน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน เริ่มต้นเท่ากับ 100 มิลลิกรัม/ลิตร พบว่าหลังจาก 168 ชั่วโมง ประสิทธิภาพการกำจัดไนเตรทคิดเป็น 77.41 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของฟิล์มชีวภาพบนตัวกลางเปลือกหุ้มลูกมะพร้าวสับเป็นก้อนในการกำจัดไนเตรทจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำก่อน พบการสะสมของไนเตรท ไนไตรท์ และแอมโมเนียเท่ากับ 0.07 mgNO3-N/L, 0.04 mgNO2-N/L และ 0.19 mgNH3-N/L ตามลำดับ ในช่วง 14 วันของการเลี้ยง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวัสดุธรรมชาติที่มีราคาถูก เช่น เปลือกหุ้มลูกมะพร้าวมีประสิทธิภาพเท่ากับวัสดุตัวกลางพลาสติกที่มีราคาแพง นับเป็นข้อได้เปรียบในการนำมาใช้สำหรับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดใหญ่
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/972
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น