กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/968
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พัทรพงษ์ อาสนจินดา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:55Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:55Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/968 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการประเมินความแข็งแรงทางโครงสร้างของสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกด้วยการใช้รถบรรทุกสิบล้อที่ทราบน้ำหนักเพลาทางสถิติและระยะห่างเพลาที่แน่นอน โดยศึกษาและเปรียบเทียบค่าบ่งชี้ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของสะพานที่ได้จากการทดสอบแบบสถิตย์และแบบพลวัติ จำนวน 3 สะพาน เพื่อหาวิธีการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกแบบพลวัติที่เหมาะสมและได้ค่าบ่งชี้ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกใกล้เคียงกับการทดสอบแบบสถิตย์ โดยศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเร็วของรถบรรทุก และตำแหน่งการสัญจรในช่องจราจรที่แตกต่างกัน โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ บริเวณผิวใต้ของสะพานต่าง ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจวัดความเครียด อุปกรณ์ตรวจวัดค่าการเปลี่ยนตำแหน่ง และอุปกรณ์ตรวจวัดความเร่งจากการสั่นไหว เพื่อนำไปคำนวณค่าบ่งชี้ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกตามมาตรฐานของ AASHTO มาตรฐานขแง AASHTO ระบุให้ทำการทดสอบด้วยรถบรรทุกมาตรฐานประเภท HS20-44 ซึ่งไม่มีในประเทศไทย การศึกษานี้จึงใช้รถบรรทุกสิบล้อในประเทศในการทดสอบแทน จากนั้นทำการสร้างแบบจำลองโครงสร้างสะพานในคอมพิวเตอร์ซึ่งทำการปรับเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ โดยศึกษาเปรียบเทียบการปรับเทียบแบบจำลองโครงสร้างสะพานด้วยผลตอบสนองทางพลศาสตร์แทนการปรับเทียบผลตอบสนองทางสถิตย์ และประเมินความแข็งแรงของชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานโดยนำน้ำหนักบรรทุกประเภท HS20-44 มาเคลื่อนที่ผ่านแบบจำลองสะพาน เพื่อประเมินว่าการทดสอบแบบพลวัติและแบบสถิตย์ให้ค่าบ่งชี้ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกที่ใกล้เคียงกันในระดับใด จากผลการศึกษาด้วยผลการทดสอบภาคสนาม จำนวน 3 สะพาน พบว่าการทดสอบแบบพลวัติด้วยรถบรรทุกที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เกิดน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะได้ค่าบ่งชี้ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกที่คลาดเคลื่อนจากค่าบ่งชี้ที่ได้จากการทดสอบทางสถิตย์ไม่เกิน 10% สำหรับทุกชิ้นส่วนโครงสร้าง และพบว่าการทดสอบด้วยการสัญจรด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะได้ค่าบ่งชี้ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกที่ใกล้เคียงกับการทดสอบแบบสถิตย์มาก อีกทั้งสามารถใช้การทดสอบแบบพลวัติในช่องจราจรของสะพานใดก็ได้ โดยไม่กระทบค่าตัวบ่งชี้ที่ประเมินได้ จึงสามารถสรุปได้ว่าการทดสอบแบบพลวัติสามารถทดแทนการทดสอบแบบสถิตย์ได้ ซึ่งจะลดค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการทดสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.subject | โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก - - การทดสอบ | th_TH |
dc.title | การประเมินสภาพการใช้งานและความแข็งแรงทางโครงสร้างของสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยการทดสอบภาคสนาม | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2555 | |
dc.description.abstractalternative | This research studies on structural strength assessment of reinforced concrete bridges by load testing. A ten-wheel truck with knowing its static axle weight and axle spacing is utilized in the test. Bridge load rating factors obtained from static and dynamic test of 3 bridges are studied and compared. This is to determine an appropriate scenario of dynamic load testing which is a case of the dynamic load rating factor is close to the static one. Related parameters including moving speed and travel path of the truck at different levels are considered. Group of measurement sensors consisted of ctrain sauges, displacement transdces and acceleration transducers are placed beneath the bridge deck. The measured signals are used in the load rating factor calculation according to the standard of American Association of State Highway and Transportation Officials (AASHTO). Regarding to AASHTO standard, the standard truck HS20-44 type is required in the test procedure. However, since the standard truck is not available in Thailand, an ordinary ten-wheel truck in Thailand is employed instead. The tested bridge structure is thereafter simulated in the computer by calibration its properties from the test data. Comparison on bridge calibration using dynamic response instead of static response is considered. Assessment on strength of bridge's structural components is conducted by HS20-44 truck load model applying to the bridge model. This is to evaluate the proximity level of bridge load rating factors obtained from dynamic and static tests. Based on the results from field test of 3 bridges, it is observed that conducting the dynamic load test with moving truck speed less than 41 km/hr provides load rating factor with errors compared to the values obtained from static test within 10% only. Moreover, it is also indicated that testing at very slow truck speed less than 20 km/hr yields load rating factor very close to those obtained from static load testing. In addition, dynamic load test can be carried out in any travel path of the bridge without distortion on the evaluated rating factor. Finally, it can be is concluded that dynamic load test is capable for static test replacement. Budget and duration of the test can be effectively reduced | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น