กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/961
ชื่อเรื่อง: ความคงทนของคอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 ผสมเถ้าถ่านหินที่แช่ในสภาวะแวดล้อมทางทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Durability of type V concrete containing fly ash under marine exposure
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ชาลี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การกัดกร่อนเหล็ก
เถ้าถ่านหิน
สิ่งแวดล้อมทางทะเล
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษา กำลังอัด การแทรกซึมคลอไรด์และการกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 ที่ผสมเถ้าถ่านหินจากการเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด (FC) และพูลเวอร์ไรซ์ (PC) หลังจากแช่น้ำทะเลในสภาพเปียกสลับแห้ง เถ้าถ่านหินจากการเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบดนำมาบดละเอียดให้ค้างตะแกรงเบอร์ 325 ประมาณร้อยละ 2-5 โดยน้ำหนัก ส่วนเถ้าถ่านหินจากการเผาแบบพูลเวอร์ไรซ์นำมาใช้จากโรงงานโดยตรง แทนที่เถ้าถ่านหินในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนต์ประเภทที่ 5 ที่อัตราส่วนร้อยละ 0, 15, 25, 35 และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานคงที่เท่ากับ 0.65 ทำการหล่อคอนกรีตทรงลูกบาศ์ขนาด 200x200x200 มม3 เพื่อฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ยาว 50 มม. ให้มีระยะหุ้มของคอนกรีตหนาเท่ากับ 10, 20, แล 75 มม. นอกจากนั้น ได้หล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง 100 มม. สูง 200 มม. สำหรับทดสอบกำลังอัดที่อายุ 28 วัน และแช่น้ำทะเล 5 ปี หลังจากบ่อมคอนกรีตในน้ำจนมีอายุครบ 28 วัน จึงนำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่น้ำทะเลบริเวณ จ.ชลบุรี ในสภาวะเปียกสลับแห้ง ทดสอบกำลังอัด ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมด และการกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีตเมื่อแช่น้ำทะเลครบ 5 ปี ผลการศึกษาพบว่า การใช้เถ้าถ่านหินจากการเผาแบบพูลเวอร์ไรซ์ให้ผลในการต้านทานการแทรกซึมของตลอไรด์ได้ดีกว่าเถ้าถ่านหินบดละเอียดจากการเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบดคอนกรีตที่ใช้เถ้าถ่านหินทุกกลุ่มสามารถต้านทานการแทรกซึมของคลอไรด์และการเกิดสนิมเหล็กได้ดีกว่าคอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 ที่ไมได้ผสมเถ้าถ่านหิน และการแทนที่เถ้าถ่านหินในปริมาณที่มากขึ้น (ไม่เกินร้อยละ 35) สามารถลดการแทรกซึมของคลอไรด์และการเกิดสนิมเหล็กลงได้ นอกจากนั้นคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินที่ได้จากการเผาแบบพูลเวอร์ไรซ์ มีการพัฒนากำลังอัดสูงกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินที่ได้จากการเผาแบบฟลูดิดไดซ์เบด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/961
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_244.pdf3.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น