กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/945
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุพรรณี ลีโทชวลิต | th |
dc.contributor.author | จันทร์จรัส วัฒนะโชติ | th |
dc.contributor.author | นารีรัตน์ ฤทธิรุตน์ | th |
dc.contributor.author | วีลยา แก่นจันทร์ | th |
dc.contributor.author | นันทิกา คงเจริญพร | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:53Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:53Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/945 | |
dc.description.abstract | จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของปรสิตโปรโตซัว Cryptocaryon irritans ที่พบในปลาทะเลจากประเทศไทย พบว่า Trophont Tomont และ Theront ของปรสิตมีขนาดเฉลี่ย 49-133, 152-235 และ 17-40 um ลำดับ เมื่อนำปรสิตที่แยกได้มาทำการจำแนกด้วยลักษณะทางพันธุกรรม พบว่า เบสของปรสิตที่เก็บจากปลาทะเลของประเทศไทยเหมือนกับปรสิตที่เก็บจากประเทศมาเลเซียและอิสราเอล 100% และเมื่อทำการทดลองเลี้ยงปรสิตระยะ Theront ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดต่าง ๆ พบว่า Theronal สามารถเลี้ยงได้นานที่สุดในอาหาร EBSS โดยเลี้ยงได้นานถึง 78.44+- 5.29 ชั่วโมง ระดับความไวของยาและสารเคมี พบว่าระยะ Theront ของปรสิตสามารถกำจัดได้โดยใช้ Copper citrate ที่ความเข้มข้น 0.25 ppm. และใช้ Formalin ที่ความเข้มข้น 50 ppm. เมื่อทำการศึกษาระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเมื่อปลาติดเชื้อปรสิต C. irritans มีการตรวจพบเลคตินในเมือกปลาทะเลสวยงามบางชนิด และโปรตีนในเมือกปลาทะเลสวยงาม ส่วนใหญ่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ้ได้ การศึกษาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ในการป้องกันการติดเชื้อปรสิต Cryptocaryon irritans โดยฉีดปรสิตระยะ Theront เชื้อตายที่ถูกฆ่าด้วย Formalin และเมมเบรนโปรตีนที่สกัดจาก Theront เชื้อตายเข้าบริเวณช่องท้องของปลาและให้ปลากะพงขาวเผชิญกับเชื้อปรสิตระยะ Theront มีชีวิต จากการตรวจสอบระดับแอนติบอดีโดยเทคนิค ELISA เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนชุดตัวอย่างต่อชุดควบคุม พบว่าระดับแอนติบอดีจากปลากะพงขาวที่ถูกกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยปลากะพงขาวที่ถูกกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย Theront เชื้อตายและเมมเบรนโปรตีนมีระดับแอนติบอดีสูงสุดในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ตามลำดับ ปลากะพงขาวที่ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันและนำมาเผชิญต่อปรสิตระยะ Theront จำนวน 15,000 ต่อตัวปลาหนึ่งตัว (น้ำหนัก 15 กรัม) เป็นเวลา 9 วัน พบการตายของปลากะพงขาวที่ได้รับวัคซีนอยู่ที่ร้อยละ 0 ในขณะที่การตายของปลากะพงขาวในกลุ่มควบคุมจะอยู่ที่ร้อยละ 100 สำหรับการศึกษาในปลาข้าวเม่าน้ำลึก (Sarcocentrum rubrum) ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการฉีดปรสิตระยะ Theront เชื้อตายที่ถูกฆ่าด้วย Formalin เปรียบเทียบกับชุดควบคุม พบระดับแอนติบอดีจากปลาข้าวเม่าน้ำลึกสูงกว่าชุดควบคุมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 และสูงสุดในสัปดาห์ที่ 7 ผลการเผชิญต่อปรสิตระยะ Theront จำนวน 70,000 ตัว ต่อปลาหนึ่งตัว (น้ำหนัก 60 กรัม) เป็นเวลา 7 วัน พบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มตัวอย่างมีอัตราการรอด 100% The morphology and DNA characterization of ciliated protozoa, Cryptocaryon sp. isolated from marine fishes of Thailand were examined. From the studies, the trophonts, tomonts and theronts had average size 49-133, 152-235 and 17-40 um, respectively. The DNA sequence was determined and compared with previous studies from the Gen Bank. The nucleotide sequences of the protozoa showed 100% identity with that from Malaysia and isreal isolated. The theront stage of C. irritans, was studied by in vitro and the results showed that its life span was the longest (78.44+-5.29 hrs.) when cultured in the EBSS. The antiparasitic and antibiotic were tested against the theronts stage. The results showed that the therints were completely killed by copper citrate and formalin at 0.25 and 50 ppm, respectively. The immunity of the infected-fish was also examined. It was found lectin and protein from mucus of the marine fishes. The results indicated that protien from mucus has antibacterial activity against Vibrio spp. The protective immunity of white sea bass (Lates calcarifer) abainst the C. irritans was examined. The fish were intraperitoneal (i.p.) infected either death theronts or membrane protein extracted from therints and were allowed to challenge with the lively theronts. Specific antibody titres of immunized fish serum were determined by enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA). The study found that fish immunized with theronts or membrane protein groups produced higher levels of antibody than the control group. The level of antibody produce was the highest at week 4 and 8 in the fish immunized with theronts and membrance protein respectively. The average 15 g immunized and non-immunized fish were challenged to 15,000 theronts for 9 days. It was found that the vaccinated fish showed no mortality while the non-vacinated fish had 100% mortality. The protective immunity of red soldier fish (Sarcoentrum rubrum) was also examined. The fish injected with death theronts showed higher kevel of antibody expression than those control fish from week 1, and the level of antibody was produced the highest at week 7, The mean weight 60 g immunized S. rubrum were exposed to 70000 theronts per fish for 7 days compared to control, non-immunized fish. Result from the study revealed that no mortality of the fish was observed in both control and experimental groups. | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผ่านงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2548-2550 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อ | th_TH |
dc.subject | ปรสิต | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.subject | โรคจุดขาวน้ำเค็ม | th_TH |
dc.title | การศึกษาโรคจุดขาวน้ำเค็มที่เกิดจากโปรโตซัว Cryptocaryon sp. ในปลาทะเลในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Study of marine white spot disease, Cryptocaryon sp. from marine fish in Thailand | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2554 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น