กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/900
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแพลงก์ตอนกลุ่มไดอะตอมเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพน้ำในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of diatom to control water quality in shrimp culture penaeus monodon with closed recirculating water system.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บัญชา นิลเกิด
ชลี ไพบูลย์กิจกุล
วศิน ยุวนะเตมีย์
บัลลังก์ เนื่องแสง
เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: กุ้งกุลาดำ - - การเจริญเติบโต
กุ้งกุลาดำ - - การเลี้ยง
กุ้งกุลาดำ - - อาหาร
แพลงค์ตอนพืช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของซิลิเกตต่อแพลงก์ตอนกุ่มไดอะตอม (Chaetoceros calcitrans) สำหรับการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของซิลิเกตและไดอะตอมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระยะวัยรุ่นในถังพลาสติก พบว่าซิลิเกตและ C.calcitrans มีผลต่อการเพิ่มความยาวของกุ้งกุลาดำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนนน้ำหนักของกุ้งกุลาดำพบว่าเฉพาะปริมาณของซิลิเกตเท่านั้นที่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักของกุ้งกุลาดำอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ส่วนการทดลองที่ 2 ศึกษาผลของซิลิดเกตและไดอะตอมต่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อดิน พบว่าการเติมซิลิเกตร่วมกับ C. calcitrans มีผลทำให้น้ำหนักและความยาวของกุ้งกุลาดำสูงกว่าการเติมซิลิเกตหรือ C.calcitrans เพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และในการทดลองที่ 3 ศึกษาผลของไดอะตอมต่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อดิน พบว่ามีการเติมปริมาณ C. calcitrans ที่เพิ่มขึ้นร่วมกับการใช้ซิลิเกต มีแนวโน้มทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำสูงขึ้น จากผลการทดลองพบว่าปริมาณ C.calcitrans ที่เหมาะสมที่ทำให้ความยาวและน้ำหนักของกุ้งกุลาดำสูงที่สุดเท่ากับ 1x10 5 เซลล์ต่อมิลลิลิตร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/900
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น