กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/891
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอรพิน รังษีสาครth
dc.contributor.authorศิริพร จันทร์ฉายth
dc.contributor.authorศาสตรี เสาวคนธ์th
dc.contributor.authorถิรพงษ์ ถิรมนัสth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:49Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:49Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/891
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางสังคม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และความคาดหวังในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ต่อศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยฯ ด้าน การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียด และการจัดการความเครียด และการรับประทานยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจและรักษาที่คลินิกพิเศษเฉพาะโรคเบาหวาน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาจำนวนรวม 150 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์โดยใช้ สถิติพรรณา ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Pearson Correlation ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละของผู้ป่วย ฯ มีพฤติกรรมโดยรวม ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการจัดการความเครียด และด้านการรับประทานยา ในระดับต่ำและระดับสูงใกล้เคียงกัน ยกเว้นพฤติกรรมการออกกำลังกายที่พบว่า ผู้ป่วย ฯ มาก 2 ใน 3 (ร้อยละ 63.7) มีพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับสูง และ ที่เหลือออกกำลังกายในระดับต่ำ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่าง ๆ กับ พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า 1) อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการรับประทานยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.1806, r = 0.2062, r = 0.2842, r = 0.1832 และ p = 0.0346, p = 0.0191, p = 0.0007, p = 0.0369) ส่วนอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.2898 และ p = 0.0007) ส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้านการบริโภคอาหาร ความเครียด การจัดการความเครียด และการรับประทาน 3) ความคาดหวังในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียด การจัดการความเครียด และการรับประทานยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.5014, r = 0.4923, r = 0.2468, r = 0.1987, r = 0.2187 และ p <0.0001, p <0.0001, p = 0.0043, p = 0.0204, p = 0.0143) ในการพัฒนาศักยภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแก่ผู้ป่วย ฯ จึงควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางสังคม และความคาดหวังในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยส่งเสริมให้ครอบครัว และบุคคลใกล้ชิดเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม และกระตุ้นให้ผู้ป่วย ฯ คาดหวังในการปฏิบัติพฤติกรรมของตนเองร่วมกับการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานแก่ผู้ป่วย ฯth_TH
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2547en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองth_TH
dc.subjectน้ำตาลในเลือดth_TH
dc.subjectเบาหวาน - - ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.th_TH
dc.title.alternativeFactor associated with blood sugar controlling of type 2 diabetic patients at health science center Burapha university, muang district, Chonburi provinceen
dc.typeResearch
dc.year2552
dc.description.abstractalternativeThis study was conducted to explore the association among informal social support, diabetes khowledge, outcome expectations and behaviors for controlling the blood sugar of type 2 diabetic patients. The study was carried out with 150 type 2 diabetic patients in the Health Science Center of Burapha University. Individual interviews of patients were conducted regarding social support in their environment, diabetes khowledge, outcome expectations and behaviors for controlling their blood sugar. Data is presented as percentages and Peason's Correlation Coefficient was used to assess the associations. The survey is focused on 4 behaviors; the food consumption, exercise, the stress management and taking medications. The study results revealed that about half had good behaviors and half had poor behaviors to control their blood sugar. The best indicator for blood sugar controlling behaviors was that 63.7% of patients had good exercise behavior. The relationship results are focused on 3 parts: 1) There were significant associations between social support and the food consumption, exercise, the stress management and taking medicine for controlling the blood sugar of type 2 diabetic patients (r = 0.1806, r = 0.2062, r = 0.2842, r = 0.1832). 2) There was significant association between diabetic patients (r = 0.2898). There were no associations between diabetes knowledge and the food consumption, the stress management and the medicine taking for controlling the blood sugar of type 2 diabetic patients. 3) There were significant associations between outcome expectations and the food consumption, exercise, the stress management and the medicine taking for controlling the blood sugar of type 2 diabetic patients (r = 0.5014, r = 0.4923, r = 0.2468, r = 0.1987, r = 0.2187). This study indicates that the self-care blood sugar controlling behaviors of type 2 diabetic patients should be developed by encouraging them to use social support, and increase diabetes knowledge, especially by providing activity for their families' participation. Patients' outcome expectations should be raised by informing them about patients who successfully control blood sugar by changing behaviors.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_186.pdf5.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น