กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/889
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
dc.contributor.authorสุกัญญา ยิ้มใย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:49Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:49Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/889
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และผลกระทบต่อสุขภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 522 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่านิสิตส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ถึงข้อควรปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตควรใช้ครั้งละไม่เกิน 1 ชั่วโมง และผู้มีความรู้ส่วนน้อยที่นำไปปฏิบัติจริง ผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายจากการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก จำนวนเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตต่อ 1 สัปดาห์ที่มากขึ้น มีผลกระทบต่อร่างกายของนิสิตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและไม่สัมพันธ์กับจำนวนเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตต่อ 1 สัปดาห์ ผลกระทบต่อสุขภาพทางสังคมส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลางและไม่สัมพันธ์กับจำนวนเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตต่อ 1 สัปดาห์ การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายมีความสัมพันธ์กับจำนวนเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยควรรณรงค์ให้ความรู้แก่นิสิตในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องและปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพth_TH
dc.description.sponsorshipรายงานการวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2554en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพฤติกรรมth_TH
dc.subjectสุขภาพth_TH
dc.subjectอินเทอร์เน็ตth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeInternet user behavior and health impacts on students in Burapha Universityen
dc.typeResearch
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the behavior of Internet users and health impacts of 522 third year undergraduate university students in academic year 2010 by using the questionnaires as research tool. Data analysis was descriptive and analytic statistics. The results showed that most students used the Internet more than 16 hours per week or more than two hours per day. Most students did not know of the proper guidelines for using Internet. In particular, the Internet usage should take no more than one hour at a time whereas students who known this guideline did not apply in their daily life. Impacts of the Internet on the physical health were mostly in the high level. Increasing amount of time using the Internet per week increased the impact on student physical health significantly. Impacts on mental health mostly were moderate and not related to the amount of time using the internet per week. Impacts on the society health were low to moderate and not related to the amont of time using the internet per week. Internet usage had impacts on physical, mental and social health. Especially, impacts on physical health correlated with amount of time using Internet. University should have a compaign to educate students for the proper guidelines of using internet and encourage actual implementation to reduce the impact on health.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_150.pdf2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น