กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8830
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วสุธร ตันวัฒนกุล | |
dc.contributor.advisor | พัชนา ใจดี | |
dc.contributor.advisor | วนัสรา เชาวน์นิยม | |
dc.contributor.author | ปัญญา ยงยิ่ง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:25:38Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:25:38Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8830 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิคเดลฟายและใช้การวิจัยเชิงปริมาณอธิบายประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์และพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย-ลาวที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดำเนินการระหว่างมกราคม พ.ศ. 2558-พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยการทบทวนและวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มแบบการสืบค้นเสริมพลังกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ที่เป็นผู้นำภาคีเครือข่ายที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย-ลาว จำนวน 6 อำเภอ ๆ ละ 10 คน รวม 60 คน และสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 5 สาขา จำนวน 17 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และใช้สถิติบรรยาย (ค่าร้อยละ ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์) ผลการวิจัยพบว่า ระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย-ลาว มีการประยุกต์การดำเนินการตามนโยบายที่มีรูปแบบ UCCARE 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ (Unity of district health team: U) 2) การมุ่งผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้บริโภค (Customer focus: C) 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย (Community participation: C) 4) การทำงานจนเกิดคุณค่า (Appreciative inqurity: A) 5) การจัดสรรทรัพยากร (Resource sharing: R) และ 6) การให้บริการสุขภาพที่จำเป็น (Essential health care: E) แต่เนื่องจากอำเภอชายแดนไทย-ลาว มีควาแตกต่างจากพื้นที่ทั่วไปทั้งภูมิประเทศ สังคมวัฒนธรรม และบริบทด้านอื่น ๆ อีกหลายประการ ดังนั้น จึงพบว่า ระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย-ลาว ที่พึงประสงค์ในการจัดการสุขภาพสำหรับประชาชนประกอบด้วย 10 องค์ประกอบหลัก 28 องค์ประกอบรอง และ 75 ประเด็นสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน (Consensus) ว่ามีความเหมาะสม ร้อยละ 80 มีความเป็นไปได้ในระดับมาก (ค่าฐานนิยมระดับ 4) ขึ้นไป และพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter-quartile range) ที่ไม่เกิน 1.00 จึงมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยเพิ่มจากรูปแบบเดิม 4 องค์ประกอบหลัก คือ หัวหน้าทีม (Captaincy: C) การสื่อสาร (Communication: C) ความมุ่งมั่น (Commitment: C) และวัฒนธรรม (Culture: C) = CCCC:4C ซึ่งระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย-ลาว ที่พึงประสงค์ หรือ DHS@Thai-Laos’border: 4C+U+CARE+C สามารถสรุปได้ดังนี้ บริบทสำคัญ (Crucial context) ที่มีผลต่อประสิทธิผลของระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย-ลาว เป็นการทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยมีองค์ประกอบที่สนับสนุนระบบ ประกอบด้วย การทำหน้าที่ของหัวหน้าทีม (Captiancy: C) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกระบบ (Communication: C) ความมุ่งมั่นในข้อตกลงร่วมกันของภาคีเครือข่าย (Commitment: C) และวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบเครือข่าย (Culture: C) และมีองค์ประกอบเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ การทำงานร่วมกันของทีมอำเภอ (Unity of district health team: U) กระบวนการ (Process) ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย (Community participation: C) การจัดสรรทรัพยากร (Resource sharing: R) การทำงานจนเกิดคุณค่า (Appreciative inquiry: A) และการให้บริการสุขภาพที่จำเป็น (Essential health care: E) ผลสัมฤทธิ์ (Result) ได้แก่ การมุ่งผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้บริโภค (Customer focus: C) ที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนและผู้รับประโยชน์จากระบบสุขภาพ จึงเป็นทั้งผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) อันส่งผลกระทบ (Impact) ให้เกิดสังคมสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานสาธารณสุขระดับนโยบาย ควรสนับสนุนให้นำแนวคิด 4C+U+CARE+C ไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอตามบริบทของพื้นที่ชายแดน และในพื้นที่อำเภอปกติ เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นการยกระดับระบบสุขภาพอำเภอต่อไป | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | สุขภาพ | |
dc.title | การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย-ลาว | |
dc.title.alternative | The development of district helth systems on the Thilnd-Los border | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This qualitative research, designed as a futuristic research type with Delphi technique and quantitative research for description, was aimed at analysing, synthesizing and developing the appropriate and practical health system of districs in the area of Thailand-Laos border. The research was operated between January 2, 2015 and may 31, 2018. The methodology included reviewing and analyzing the related research documents, doing fieldwork, collecting data through group discussions to identify empowerment among key informants who were leaders of collaborative networks in the district health systems development of Thai-Laos border in six districts. Ten key informants of each district and 60 in total and 17 experts from five professional fields participated in three times of conducting Delphi technique. The data were analysed by content analysis. Descriptive statistic was used (percentage, mode, inter-quartile range). The results showed that the model for health care system development in the Thai-Lao border districts, implemented according to apply UCCARE, consisted of six elements interconnected with one another systematically. They were: 1) unity of district health team (U), 2) customer focus (C), 3) community participation (C), 4) appreciation inquiry (A), 5) resource sharing (R), and 6) essential health service (E). However, due to differences in geographical and sociocultural and several other contexts of Thailand-Laos border, it was found that the appropriate health care systems should have 10 key components 28 sub-components and 75 important points, which 80% of suitability, high level of possibility (mode level 4 and up), and inter-quartile range less than 1.00. The 4 key components added in the previous model (CCCC: 4C): captaincy (C), communication (C), Commitment (C), and Culture (C). Therefore, the Appropriate Thailand-Laos Border District Health Care System or DHS@Thai-Laos’s border (4C+U+CARE+C) should be concluded as follows: Crucial context that affected the effectiveness of the Thailand-Laos border district health care systems was the collaborative networking system. It was comprised of captaincy (C), communication (C), commitment (C), and culture (C). The input of the systems included unity of district health team (U), Process included, community participation (C), resource sharing (R), appreciation inquiry (A), and essential health care (E). Result of the system included customer focus (C) that was the mechanism for movement and beneficial of the system. It became both output and outcome that resulted in impact to create wellbeing of society and sustainability. It is suggested for public health organizations at the policy level that they should promote to apply the principle of 4C+U+CARE+C to improve their district health care systems base on local contexts of borders and area of districts for improving appropriateness and efficiency to enhance the service level of the district health care systems. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
55810155.pdf | 9.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น