กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8828
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of the infectious wste mngement for tmbon helth promoting hospitl nd locl governments sector
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุหลาบ รัตนสัจธรรม
วันดี นิลสำราญจิต
รจฤดี โชติกาวินทร
จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ขยะทางการแพทย์
ขยะติดเชื้อ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นเปรียบเทียบการดำเนินงานการจัดการมูลฝอยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กับกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 หาแนวทางปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเพื่อเสอนแนวทางในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 127 แห่ง และราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 73 แห่ง ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 17 คน และแนวทางปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 18 คน และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผ่านความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการคัดแยกและรวบรวมมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับถูกต้องมาก มากที่สุด ร้อยละ 70.9 มีการเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับถูกต้องปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 58.3 มีการขนส่งมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับถูกต้องปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 62.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การคัดแยกและเก็บรวบรวมในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 การเก็บมูลฝอยติดเชื้อปฏิบัติได้ ร้อยละ 73.8 การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อในหมวด 2 การเก็บมูลฝอยติดเชื้อปฏิบัติได้เฉลี่ย ร้อยละ 74.7 และการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อในหมวด 3 การขนมูลฝอยติดเชื้อปฏิบัติได้เฉลี่ย ร้อยละ 36.0 และราชการส่วนท้องถิ่น ไม่มีการดำเนินการขนส่งและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ร้อยละ 100.0 โดยส่วนใหญ่มอบหมายให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐดำเนินการขนส่งและกำจัดแทน ร้อยละ 95.8 และ 97.2 ตามลำดับ ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ 100.0 และมีการควบคุมกำกับติดตามการขนส่งและกำจัด ร้อยละ 6.8 และร้อยละ 4.1 ตามลำดับ แนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับราชการส่วนท้องถิ่นทำได้โดยสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพจัดทำศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้อแบบครบวงจร ส่วนราชการส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กอาจทำการมอบหมายให้ส่วนราชการอื่นดำเนินการแทน แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของท้องถิ่น และแนวทางปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบไปด้วย 6 แนวทาง คือ 1) การบริหารงาน 2) ผู้ปฏิบัติงาน 3) การคัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ 4) การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ 5) การขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ 6) การประเมินผลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8828
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810151.pdf12.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น