กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8815
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในทหารเรือที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิกในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of helth promotion progrm is risk fctors to metbolic syndrome mong nvy in stthip district chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ ไกรฤกษ์ มีแย้ม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย -- ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพทหารเรือที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิก โดยประยุกต์แนวคิดการสร้างเสริมพลังอำนาจของกิบสันให้ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นทหารเรือที่ปฏิบัติงานในเรือรบหลวงกองทัพเรือไทยที่มีปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิก จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน วัดผลก่อนทดลองและหลังทดลอง ระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรุ้ สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมเพิ่มขึ้นและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อกลุ่มอาการเมตาบอลิก ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลองพบว่า เกือบทุกปัจจัยเสี่ยงไม่แตกต่างกัน ยกเว้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ค่าความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในเลือด มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ ส่วนค่าโคเลสเตอรอลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและในกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกค่า จากการวิจัยพบว่า โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ ส่งผลทหารเรือมีความรู้และสมรรถนะแห่งตนเพิ่มขึ้นทำให้พฤติกรรมดีขึ้น ส่งผลให้ปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิกลดลง ดังนั้นควรนำโปรแกรมเสริมสุขภาพไปใช้ทหารเรือที่มีปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิก กลุ่มอื่น ๆ ต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8815 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56910081.pdf | 7.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น