กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8814
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของเบาะรองนั่งเพื่อลดความสั่นสะเทือนทั่วร่างกายของกลุ่มพนักงานขับรถยกชนิดนั่งขับในท่าเรือแห่งหนึ่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effectiveness of set cushion in reducing whole body vibrtion mong counter blnce forklift drivers in seport, bngkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์ ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ ศิรประภา สินใจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | รถยนต์ -- การตกแต่ง เบาะรถยนต์ คนขับรถบรรทุก มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเบาะรองนั่ง 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ทำมาจากแผ่นยางซิลิโคนและโพลียูรีเทนโฟม แบบที่ 2 ทำมาจากแผ่นยางบิวไทล์และโพลียูรีโฟม เพื่อลดการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนของกลุ่มพนักงานขับรถยกโดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ศึกษาผลก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-posttest one group design) เกี่ยวกับผลของการใช้เบาะรองนั่ง สำหรับพนักงานขับรถยกจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความพึงพอใจและเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Whole body vibration meter) ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ย 38.03 ปี (± 8.84) น้ำหนักเฉลี่ย 64.21 กิโลกรัม (±9.67) ส่วนสูงเฉลี่ย 166 เซนติเมตร (± 4.64) สถานภาพโสด 9 คน (32.10 %) สมรส 19 คน (67.90%) ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 10 ชั่ว โมง (± 1.86) ระยะพักเฉลี่ยต่อวัน 1.64 ชั่วโมง (± 0.48) ประสบการณ์การขับรถยก 10.82 ปี (± 8.92) อายุการทำงานเฉลี่ย11.78 ปี (± 8.84) อายุของรถยกเฉลี่ย 6.35 ปี (± 1.42) ผลการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเร่ง ความสั่นสะเทือนก่อนและหลังการใช้เบาะรองนั่งที่ 1 เบาะรองนั่งที่ 2 พบว่าก่อนการใช้เบาะรองนั่ง มีค่าเท่ากับ 2.42 m/s2 (± 0.37) หลังการใช้เบาะรองนั่งที่ 1 มีค่าเท่ากับ 2.03 m/s2 (± 0.23) หลังการใช้เบาะรองนั่ง 2 มีค่าเท่ากับ 1.89 m/s2 (± 0.16) ค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนเบาะ 1 มีค่าน้อยกว่าก่อนการใช้เบาะรองนั่ง โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.05 ค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนเบาะรองนั่งที่ 2 มีค่าน้อยกว่าก่อนการใช้เบาะรองนั่ง โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.05 ความพึงพอใจหลังการใช้เบาะรองนั่ง พบว่า พนักงานขับรถยกระบบสั่นสะเทือนมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้เบาะนั่ง โดยรวมหลังการใช้เบาะรองนั่ง เท่ากับ 2.66 (± 0.56) หมายถึง มีความพึงพอใจระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้เบาะรองนั่ง เท่ากับ 3.10 (±0.31) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อขนาดเหมาะสม สำหรับการใช้งาน เท่ากับ 2.53 (±0.57) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เท่ากับ 2.92 (±0.53) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมีความน่าใช้ เช่น ความนุ่มของเบาะรองนั่ง หรือรูปแบบ เท่ากับ 2.42 (± 0.69) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสามารถทำให้การปฏิบัติงานได้ดีกว่าเดิม เท่ากับ 2.35 (±0.73) ซึ่งการศึกษานี้ควรศึกษาความสั่นสะเทือนในรถยกที่มีพิกัดน้ำหนักยกขนาดอื่น ๆ หรือรถเครื่องมือทุ่นแรงชนิดอื่น ๆ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8814 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59920291.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น