กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8810
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความรู้เรื่องโรคเบาหวานพฤติกรรมการออกกำลังกายจำนวนก้าวเดินและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of self-mngement support progrm on knowledge, exercise behvior, number of steps, nd hemoglobin 1c mong type 2 dibetes ptients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา พิบูลย์
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์
สุชาดา พวงจำปา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: เบาหวาน -- ผู้ป่วย
เบาหวาน -- โรค
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวนก้าวเดิน และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีค่าระดับฮีโมโกลบินเอวันซีอยู่ระหว่างร้อยละ 7-9 และอาศัยอยู่ในอำเภอ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการบริการปกติ ใช้ระยะเวลาการศึกษาทั้งสิ้น 28 สัปดาห์ เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วย 4 ส่วน คือ โปรแกรมการสนับสนุนตนเองการจัดการความรู้แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเบาหวานและพฤติกรรมการออกกำลังกายแบบบันทึกจำนวนก้าวเดิน และการตรวจระดับ Hemoglobin A1C วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Pair t-test, Independent samples t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกายและมีค่าเฉลี่ยจำนวนก้าวเดินสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05 จากผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายและจำนวนก้าวเดินเพิ่มสูงขึ้น และลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ ดังนั้น ผู้ให้บริการสุขภาพทั้งในสถานบริการสุขภาพและในชุมชนสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8810
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57920333.pdf2.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น