กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8802
ชื่อเรื่อง: | การลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยการปรับปรุงพื้นที่การทำงานตามแนวทางของ ILO ในพนักงานโรงงาน ซัก อบ รีด แห่งหนึ่ง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Reducing ergonomic risks by workplce improvement bsed on ilo checkpoints mong employees in lundry fctory |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปวีณา มีประดิษฐ์ ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข นัฐชกุลพร ประดิษฐ์พฤกษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เออร์โกโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรงงานซัก อบ รีด ซึ่งเป็นกรณีศึกษามีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในพื้นที่การทำงานจากการประเมินด้วย Ergonomic checkpoints พบท่าทางในการทำงานและงานยกที่ไม่เหมาะสมของพนักงาน ได้แก่ การบิดเอี้ยวลำตัว การก้มหลัง การเอื้อมแขน การหักงอของข้อมือ รวมถึงการทำงานที่ต้องยกวัตถุที่มีน้ำหนักมากเกินและไม่มีจุดที่จับที่ดี ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน โดยเฉพาะในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในกลุ่มทดลองเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการปรับปรุงพื้นที่การทำงาน โดยหลักการยศาสตร์ตามแนวทางของ ILO คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินท่าทางในการทำงานแบบใช้ร่างกายส่วนบน (RULA) สำหรับพนักงานที่นั่งทำงานในขั้นตอนคัดแยกเสื้อผ้า แบบประเมินท่าทางในการทำงานแบบใช้ร่างกายทุกส่วน (REBA) สำหรับพนักงานที่ยืนทำงานในขั้นตอนซักผ้า สลัดน้ำ อบผ้า รีดผ้า บรรจุผ้าลงถุงพลาสติก และสมการประเมินงานยกของ NIOSH สำหรับพนักงานที่ทำงานในขั้นตอนขนส่งเสื้อผ้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ก่อนและหลังการปรับปรุงพื้นที่การทำงานโดยใช้การทดสอบ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงพื้นที่ทำงานด้วยหลักการยศาตร์ตามแนวทางของ ILO ด้วยการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องท่าทางการยกและท่าทางการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และการดำเนินการปรับปรุงพื้นที่การทำงานโรงงานซัก อบ รีด ด้วยวิธีที่มีประโยชน์ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และใช้ต้นทุนในการดำเนินการต่ำ ในทั้งหมด 7 ขั้นตอนการทำงาน คือ คัดแยกเสื้อผ้า ซักผ้า สลัดน้ำ อบผ้า รีดผ้า บรรจุผ้าลงถุงพลาสติก และขนส่งเสื้อผ้า พบว่า พนักงานที่ทำงานใน 5 ขั้นตอนการทำงาน คือ ซักผ้า สลัดน้ำ รีดผ้า บรรจุผ้าลงถุงพลาสติกและขนส่งเสื้อผ้ามีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปปรับใช้กับอุตสาหกรรม ซัก อบ รีด และการทำงานอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพนักงานซัก อบ รีด เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8802 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59920283.pdf | 185.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น