กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8799
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.advisorนันทพร ภัทรพุทธ
dc.contributor.authorเกวลี แสดงฤทธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:25:16Z
dc.date.available2023-06-06T04:25:16Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8799
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาทดลองหาวิธีปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารเพื่อลดปริมาณอนุภาคแขวนลอยในอากาศ, ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอาการเจ็บป่วยจากอาคารของพนักงานธุรการแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง โดยการใช้ต้นพลูด่าง เก็บข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยเครื่องมือ Direct reading และเก็บข้อมูลกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารโดยใช้แบบสัมภาษณ์ระยะเวลา ในการทดลอง 6 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา, General Linear model repeated measure ผลการทดลองพบว่า ต้นพลูด่างมีความสามารถในการลดอนุภาคแขวนลอยในอากาศความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารโดยเมื่อเปรียบเทียบปริมาณอนุภาคแขวนลอยในอากาศขนาด 2.5 พื้นที่ A ก่อน และหลังการจัดวางพลูด่าง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p = 0.018, 0.015, 0.017, 0.016 ตามลำดับ) และพื้นที่ B มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p = 0.001, 0.002, 0.000, 0.000 ตามลำดับ) อนุภาคแขวนลอยในอากาศขนาด 10 ไมครอนพื้นที่ A ก่อนและหลังการจัดวางพลูด่าง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p =0.002) และพื้นที่ B มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p = 0.000) เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนและหลังการจัดวางพลูด่างพบว่า ในพื้นที่ A ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างก่อนการจัดวางพลูด่างกับค่าความเข้มข้นในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.020, 0.010 ตามลำดับ) และในพื้นที่ B เมื่อเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ก่อน และหลังการจัดวางพลูด่างพบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างก่อนกับหลังการจัดวางต้นพลูด่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p = 0.006, 0.000, 0.003, 0.002 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบจำนวนร้อยละของกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารในพนักงานธุรการพบว่าร้อยละของพนักงานที่มีอาการเจ็บป่วยจากอาคารระหว่างก่อนและหลังการจัด ต้นพลูด่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p = 0.000, 0.010 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือแนะนำให้ใช้ต้นพลูด่างเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารร่วมกับวิธีอื่น ๆ และควรทำการศึกษาวิจัยในระยะเวลาที่นานขึ้นเพื่อให้เห็นผลในระยะยาวของการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารของต้นพลูด่างและควรประเมินความพึงพอใจของพนักงานผู้เข้าร่วมด้วย
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสารแขวนลอย
dc.subjectคาร์บอนไดออกไซด์ -- การลดปริมาณ -- แง่สิ่งแวดล้อม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.titleประสิทธิผลของต้นพลูด่างในการลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อนุภาคแขวนลอยในอากาศและกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารของพนักงานธุรการในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง
dc.title.alternativeThe effectiveness of e.ureum in reducing crbondioxide concentrtion, prticulr mtter nd sick building syndrome mong office workers in hospitl in ryong province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis purpose of this research was to improved the indoor air quality. In order to reducing the particular matter and carbon dioxide concentration and the number of sick building syndrome (SBS) among office workers in hospital by used the E.AUREUM. The indoor air quality measurement included particular matter size 2.5 and 10 micrometer (PM10,PM2.5 ), carbon dioxide by direct reading method. The number of SBS was estimated by interview questionnaire. Duration of this study was 6 weeks. The static used was descriptive frequency and general linear model repeated measure. The result of study revealed that E.AUREUM effectiveness to reduce particular matter and carbon dioxide and the number of sick building syndrome (SBS) among office worker in hospital. The comparison of particular matter size 2.5 micrometer in section A before and after study was difference significantly at 0.05 level (p = 0.018, 0.015, 0.017, 0.016, respectively) and in section B was at 0.01 level (p = 0.001, 0.002, 0.000, 0.000, respectively) .The comparison of particular matter size 10 micron in section A before and after study was difference significantly at 0.01 level (p = 0.002) and in section B was at 0.01 level (p = 0.001). The comparison of carbon dioxide in section A before and after 3rd, 4th week of this study was difference significantly at 0.01 level (p = 0.020, 0.010, respectively) and in section B was at 0.01 level (p = 0.006, 0.000, 0.003, 0.002, respectively). The comparison of number of sick building syndrome among worker before and after 1st week of this study was difference significantly at 0.01 level (p = 0.000, 0.010, respectively). Suggestion for this research is advice workplace use E.AUREUM to improve indoor air quality. For further research is long-term study form this research to monitor indoor air quality and satisfaction of the workers.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920159.pdf6.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น