กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/871
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรพิน รังษีสาคร | th |
dc.contributor.author | ศิริพร จันทร์ฉาย | th |
dc.contributor.author | สุนิศา แสงจันทร์ | th |
dc.contributor.author | สกุณา แสงจันทร์ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:48Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/871 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาศักยภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมในการดำเนินการด้านเอดส์ของชุมชนประมง เกษตร และอุตสาหกรรม ในจังหวัดระยอง และเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้นำชุมชน 77 คน ได้แก่ ชุมชนประมง 17 คน ชุมชนเกษตร 31 คน ชุมชนอุตสาหกรรม 29 คน และตัวแทนครัวเรือน 816 คน ได้แก่ ชุมชนประมง 115 คน ชุมชนเกษตร 190 คน และชุมชน อุตสาหกรรม 511 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อย และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้นำชุมชน และสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือนตามแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคาระข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ Norn Parametric, Kruskal Wallis test และ Chi-Square test ผลการศึกษาพบว่า ทุกชุมชนมีประสบการณ์ การมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในชุมชน ในช่วงระยะเวลา 3-4 ปี ที่ผ่านมา และมีการดำเนินงานเอดส์โดยกลุ่มองค์กรที่สำคัญ คือ กลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุข ที่มีความเสียสละ และนำเนินงานภายใต้หน่วยงานสาธารณสุขในชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมการเดินรณรงค์ ติดโปสเตอร์ แจกแผ่นพับ อบรม ผู้นำชุมชน จัดกิจกรรมให้ความรู้สอดแทรกในการประชุมสมาชิกชุมชน ประสานงานผู้ติดเชื้อ และผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับการสงเคราะห์ของราชการ โดยมีองค์ประกอบที่เหมาะสม ดังนี้ 1) ชุมชนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน และมีกลุ่มดำเนินที่ชัดเจนผู้นำกลุ่มและผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาเอดส์ 2) สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักต่อปัญหาเอดส์ และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ป่วยเอดส์ 3) มีแหล่งทุนสนับสนุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะทุนที่ได้จากรายได้ในชุมชนเอง และมีการสื่อสารในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ 4) ดำเนินการโดยใช้เทคนิควิธีการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน และสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชน 5) ได้รับความสนับสนุนจากองค์กรเอกชนและรัฐบาลในกรณีที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง เช่น ล่าม และการจัด ฝึกอบรมแก่ผู้นำ ซึ่งสามารถสรุปรูปแบบในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของชุมชนประมง เกษตร และอุตสาหกรรม ดังนี้ รูปแบบในการดำเนินงานด้านเอดส์ของชุมชนประมง เกษตร และอุตสาหกรรม ควรมีลักษณะโครงสร้างชุมชนที่ช่วยให้การดำเนินงานเรื่องเอดส์สำเร็จ คือ ควรรักษาความแน่นแฟ้นภายในชุมชน ในขณะที่ด้านกระบวนการ ควรหาแหล่งทุนที่หลากหลาย พัฒนาและส่งเสริมการทำงานและพัฒนาทีมงานและองค์กรในชุมชนให้ทำงานเชิงรุกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือปรับปรุงรูปแบบการจักกิจกรรมให้ดึงดูดใจให้ทันสมัย รักษากลไกการสั่งสอนลูกหลานภายในครอบครัว และดำเนินกิจกรรมเอดส์ไปพร้อมกับปัญหาด้านอาชีพ นอกจากนี้ในแต่ละชุมชนยังมีรูปแบบเฉพาะเจาะจงที่ค้นพบคือ ชุมชนประมง ควรสร้างความตระหนักแก่ผู้นำชุมชนและควรพัฒนาการสื่อสารภายในและภายนอกชุมชน เพื่อดำเนินงานในการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อดำเนินงานในการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในชุมชน ชุมชนเกษตรกรรม ควรสร้างความเข้าใจในปัญหาเอดส์และชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นจริง แก่ผู้นำชุมชนทุกฝ่าย และสถานีอนามัย เป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษาไม่ใช้ผู้สั่งการ ประสานกับ อบต. สร้างแผนงานด้านสุขภาพที่ชัดเจนเพื่อจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินงานในการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในชุมชน ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเอดส์ แก่กลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้หญิง ชุมชนอุตสาหกรรม มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพื้นที่และผู้มาอยู่อาศัย ควรพัฒนาการสื่อสารในองค์กรที่ทำงานเอดส์ สถานีอนามัย เป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษาไม่ใช่ผู้สั่งการ เพื่อแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มที่มีรายได้สูง โดยดำเนินงานให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ สร้างทัศนคติต่อการป้องกันการติดโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วย สร้างความตระหนักต่อปัญหาและผลกระทบต่อการระบาดของโรคเอดส์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | การศึกษาวิจัยนี้ได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2547 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - การป้องกันและควบคุม - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - การมีส่วนร่วมของชุมชน - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - ระยอง - - วิจัย | th_TH |
dc.title | ศักยภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมของชุมชนและรูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง | |
dc.title.alternative | Potentiality, social supports and model for HIV/AIDS prevention and problem solving of the communities in Rayong province. | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2548 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the study is to explore potential and community supports for HIV/AIDS activities in fishery, agricultural and industrial communities and to develop amodel for HIV/AIDS prevention and problem solving for communities in Rayong province. Thailand. The participants of this study consisted of 77 formal and informal leaders and 816 family agents. Individual in-depth interviews and three focus group discussions with community leaders, as well interviews of family agents were conducted to obtain the data. Content analysis was performed to analyze qualitative a data. Kruskal tests and Chi-square tests were performed to analyze quantitative data. The results revealed the first serious problem in the communities occurred 3-4 years earlier and leaders also had experience with problem solving and social support for HIV/AIDS patients. The health workers gathered and advised village public health volunteers and village committees who had potential for conducting public health HIV/AIDS interventions. The potential and community supports for HIV/AIDS prevention and project included: 1) strengthening community groups which operated HIV/AIDS interventions and promoted community relationships, 2) reinforcing community leaders and villagers concerned about risk behaviors and the problems of HIV/AIDS, 3) providing the social investment for continuing HIV/AIDS interventions, 4) improving and creating the appropriate process for communicating among leader groups and villagers, 5) facilitating the learning and exchange of HIV/AIDS-related data and information, and 6) providing equipment, personnel and knowledge resources if the community needed help for doing activities. The HIV/AIDS prevention and problem solving model that emerged in fishery. Agricultural and industrial communities required looking at two things: 1) Community structure: Strengthening community relationships 2) Community Activities: Developing volunteer teams and organizations to activate interventions, find out the various sources of capital, increasing network of groups, creating and improving to more attractivities, emphasizing economic consideration for HIV/AIDS problem solving. Moreover there were specific recommendations made for each community; Fishery community: Reinforce community: Reinforce community leaders’ concerns about problems of HIV/AIDS and developing both internal and external communication to increase peoples’ concern about HIV/AIDS problem. Agricultural community: provide more knowledge and educate leaders to understand the severity of HIV/AIDS problems in their community, health workers should not give orders but support and strengthen relationships with community as team workers, coordinate with district/local governments to put health problem solving into the strategic plan, budget for people to address HIV/AIDS problems, and educate risk groups for more understanding and prevention of HIV/AIDS. Industrial community: cement the relationship between local and immigrant people, develop internal and external communication for people in community groups which operate HIV/AIDS interventions, health workers should not give orders but support and strengthen relationship with the community, health workers should focus on solving risk behavior problems particularly in high income groups, and strengthen attitudes about consequences and effects of HIV/AIDS problems. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น