กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/863
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาอัตราการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อเพิ่มผลผลิตในการเพาะเลี้ยงหอยหวานวัยรุ่นในเชิงพาณิชย์ (Babylonia areolata, link 1807) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of calcium and phosphorus absorption rate for increasing production in juvenile babylon snail (Babylonia areolata, link 1870) commercial culture |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล ชลี ไพบูลย์กิจกุล มลฤดี สนธิ บัญชา นิลเกิด มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล |
คำสำคัญ: | หอยหวาน หวาน - - การเลี้ยง หวาน - - วิจัย หอยหวาน - - การเจริญเติบโต สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง การทดลองแรก ผลของการเพิ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัสในน้ำต่อการเจริญเติบโตของหอยหวานระยะวัยรุ่น พบว่าการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักของทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ในการเจริญเติบโตด้านความยาวพบว่าหอยหวานที่เลี้ยงด้วยระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด และมีการเติมแคลเซียมให้การเจริญเติบโตด้านความยาวมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองอัตราการรอดของหอยหวานทุกชุดทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) การทดลองที่สองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมในน้ำต่อการเจริญเติบโตของหอยหวานระยะวัยรุ่น (Babylonia areolata Link, 1807) จากการทดลองพบว่าอัตราการดูดซึมแคลเซียมของหอยหวานระยะวัยรุ่นมีค่าเท่ากับ 0.42 mg/Ca/g/day และมีแนวโน้มว่าการเลี้ยงหอยหวานในระบบปิดที่เติมแคลเซียม จะทำให้การเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก ความยาวเปลือก และความกว้างเปลือกรวมถึงดัชนีน้ำหนักเปลือกหอยต่อเนื้อของหอยหวาน การสะสมแคลเซียมในเปลือกและเนื้อของหอยหวาน สูงกว่าการเลี้ยงในระบบปิดที่ไม่เติมแคลเซียม การทดลองที่สามมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสที่เหมาะสมในการเลี้ยงหอยหวาน (Babylonia areolata) โดยทำอาหารสำเร็จรูปจำนวน 9 สูตร ซึ่งมีระดับโปรตีนคงที่ 30 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสแตกต่างกัน ดังนี้ 0:0, 0:1.5, 0:3, 1.5:0, 1.5:1.5, 1.5:3, 3:0, 3:1.5 และ 3:3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยทดลองเลี้ยงในหอยหวานอายุ 4 เดือน ความหนาแน่น 85.71 ตัว/ตารางเมตร ให้อาหารสำเร็จรูป 2 เวลา คือ 09:30 น. และ 15:00 น. ระยะเวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ ในระหว่างการทดลองมีการตรวจวัดอัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก และความยาวรวมถึงอัตราการรอดทุก 15 วัน ผลการทดลองพบว่าอาหารสำเร็จรูปที่มีระดับแคลเซียม 0, 1.5 และ 3 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้มีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และอัตราการรอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ส่วนอาหารสำเร็จรูปที่มีระดับฟอสฟอรัส 0, 1.5 และ 3 เปอร์เซ็นต์ พบว่าทั้งอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/863 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น