กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/861
ชื่อเรื่อง: สัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine benthic macrofauna along the Eastern Coast of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมตต์ ปุจฉาการ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: นิเวศวิทยาชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สัตว์ทะเล- - ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
สัตว์หน้าดิน - - ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบของชนิด ความมากชนิด ความหนาแน่น มวลชีวภาพ และดัชนีความหลากหลายของสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกตั้งแต่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ำตราด จังหวัดตราด รวม 44 สถานี จำนวน 2 ครั้ง ในรอบปี ได้แก่ ฤดูแล้ง (เดือนมีนาคม 2547) และฤดูฝน (เดือนสิงหาคม 2547) และจำแนกออกเป็นเขตการใช้ประโยชน์ต่างๆ 5 เขต จากการศึกษาพบสัตว์ทะเลหน้าดินทั้งหมด 15 ไฟลัม 107 วงศ์ สัตว์ทะเลหน้าดินที่พบเสมอคือ ไส้เดือนทะเลในวงศ์ Syllidae, Nereididae, Orbiniidae, Capitellidae, และหอยสองฝาในวงศ์ Veneridae ตามลำดับ และสัตว์ที่พบเป็นกลุ่มเด่นคือ กลุ่มหอยและหมึก ไส้เดือนทะเล กุ้ง กั้ง ปูและครัสตาเซียนอื่นๆ และเอคไคโนเดิร์ม ตามลำดับความมากชนิดสัตว์ทะเลหน้าดินที่พบมีค่าเฉลี่ย 11.64 +- 5.69 วงศ์และฤดูแล้งมีค่ามากกว่าที่พบในฤดูฝน ความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 544.47 +- 1,387.03 ตัวต่อตารางเมตร และฤดูฝนมีค่ามากกว่าฤดูแล้ง มวลชีวภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 59.05 +- 142.72 กรัมต่อตารางเมตรและฤดูฝนมีค่ามากกว่าฤดูแล้ง ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.767 +- 0. 658 และฤดูแล้งมีค่ามากกว่าฤดูฝน การจัดกลุ่มโครงสร้างสังคมของสัตว์ทะเลหน้าดินทั้งหมดสามารถแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มที่ระยะทางความแตกต่างที่ 75 % และสถานีที่มีสังคมสัตว์หน้าดินคล้ายคลึงกันที่ระดับ 95% มีจำนวน 14 กลุ่ม สำหรับเขตการใช้ประโยชน์ต่างๆของพื้นที่พบว่า ทุกเขตมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2543-2544 แต่อย่างไรก็ตามมีบางสถานีที่จะต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของชนิดสัตว์ทะเลหน้าดินและปัจจัยสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต This study presents species composition and richness, density, biomass and diversity index of the marine benthic macrofauna along the eastern coast of Thailand, This study areas included 44 stations located from Bangpakong river mouth in Chacheangsao province to Trat river mouth in Trat province covering various zones of beneficial uses. The samples were collected by modified Peterson grab in dry (March, 2004) and wet season (August, 2004). A hundred and seven families of 15 phyla were found in this study. The averge species richness was 11.64 +- 5.69 families. The most common species were Syllidae, Nereididae, Orbiniidae, and Capitellidae of class Polycchaeta and Veneridae of class Bivalvia, respectively, phylum Mollusca was the most abundant, followed by Polychaeta, Arthropoda and Echinodermata respectively. The averge densities, biomass and diversity index were 544.47 +- 1,387.03 individuasla/m2 , 59.05 +- 142.72 gram/m2 and 1.767 +- 0.658 respectively. The samples in dry season had more diversity and diversity index than those in the wet season. However, the samples in the wet season had more diversity and biomass than those in the wet season. Cluster analysis using Bray-Curtis similarity could separate benthic macrofauna community structure into 7 groups at 75% dissimilarity distance and there were 14 groups of the closed stations at > 95% of similarity distance. By comparing with the year 2001-2002, the results showed the benthic macrofauna of this study was more abundant than that of those year. However, the monitoring program should be concentrated in some stations due to changes of seasonal species composition and a trend of environmental deterioration in the study area.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/861
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
สุเมตต์ ปุจฉาการ.pdf6.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น