กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/859
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเทคนิคการเพิ่มอัตราการลงเกาะของหอยหวาน Babylonia areolata
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of increasing settlement rate techniques in babylon snail babylonia areolata
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชลี ไพบูลย์กิจกุล
เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
บัญชา นิลเกิด
มลฤดี สนธิ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: หอยหวาน - - อาหาร
หอยหวาน - - การเจริญเติบโต
หอยหวาน - - การเลี้ยง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดอาหาร วัสดุรองพื้น และปริมาณสารอินทรีย์ต่อการลงเกาะของหอยหวาน Babylonia areolata Link, 1807 ผลของการศึกษาชนิดอาหารต่อการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวานพบว่า ตัวอ่อนหอยหวานที่ได้รับกุ้งเป็นอาหารจะมีเปอร์เซ็นต์การพัฒนาจนถึงระยะเกาะลงพื้นสูงสุดและแตกต่างกับชุดทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ในขณะที่ตัวอ่อนหอยหวานได้รับหอยแมลงภู่เป็นอาหารมีเปอร์เซ็นต์การพัฒนาจนถึงระยะเกาะลงพื้นรองลงมาแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) กับตัวอ่อนหอยหวานที่ได้รับปลาข้างเหลืองและปลาหมึกเป็นอาหาร ผลการศึกษาวัสดุรองพื้นต่อการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวาน พบว่าชุดทดลองที่รองพื้นด้วยทรายหยาบจะทำให้อัตราการลงเกาะของลูกหอยหวานสูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับชุดทดลองที่รองพื้นด้วยเชือกพลาสติก ทรายละเอียดและเปลือกหอยนางรมชิ้นเล็ก ผลการศึกษาปริมาณสารอินทรีย์ต่อการลงเกาะของหอยหวานพบว่าปริมาณอินทรีย์วัตถุในวัตถุรองพื้นมีผลต่อการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวานแตกต่างกัน ปริมาณสารอินทรีย์ 20-25 เปอร์เซ็นต์ในวัสถุรองพื้นช่วยให้ตัวอ่อนมีพัฒนาการลงเกาะพื้นได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามปริมาณอินทรีย์วัตถุในวัตถุรองพื้นมากจะมีผลยับยั้งการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวานด้วย ผลการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอนุบาลลูกหอยหวานเชิงพาณิชย์ได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/859
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น