กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/839
ชื่อเรื่อง: | เทคโนโลยีการบำบัดคุณภาพน้ำโดยใช้เครื่องกรองแบบแยกโฟมในการแยกสารประกอบแขวนลอยในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Water treatment technology by foam fractionation for suspended solid removal in aquaculture |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชลี ไพบูลย์กิจกุล เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล บัญชา นิลเกิด สรวิศ เผ่าทองศุข มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล |
คำสำคัญ: | สัตว์น้ำ - - การเพาะเลี้ยง เครื่องกรองแบบแยกโฟม สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | การทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดฟองอากาศและความเค็มต่อประสิทธิภาพการแยกสารประกอบแขวนลอยของเครื่องกรองแบบแยกโฟม โดยออกแบบการทดลองแบบสุ่มตลอดที่มี 4x4 แฟคทอเรียล ซึ่งเปลี่ยนแปลงขนาดฟองอากศ 4 ระดับ ได้แก่ 0.057, 0.214, 0.365 และ 0.782 เซนติเมตร และเปลี่ยนแปลงระดับความเค็ม 4 ระดับ ได้แก่ 0, 10, 20 และ 30 psu ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ฟองอากาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.214 และความเค็ม 30 psu ทำให้เครื่องกรองแบบแยกโฟม มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด จากนั้นนำผลการทดลองที่ 1 มาใช้ในการทดลองที่ 2 โดยเปรียบเทียบการเลี้ยงอาร์ทีเมียระหว่างชุดทดลองที่มีระบบกรองแบบแยกโฟม และไม่มีระบบกรอง ผลการทดลองพบว่า เครื่องกรองแบบแยกโฟม สามารถช่วยลดสารประกอบแขวนลอย 22.16% แอมโมเนีย 19.15% ไนไตรท์ 16.19% ไนเตรท 16.75% อนินทรีย์ไนโตรเจน รวม 19.09% และออร์โธฟอสเฟต 14.37% และช่วยเพิ่มอัตราการรอดอาร์ทีเมีย 12.9% ความยาวนอเพลียส และความยาวอาร์ทีเมีย 5.07% จากผลการทดลองสามารถนำระบบกรองไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นต่อไป The first experimental purpose of this work was to study the effect of bubble size and salinity on suspension compounds separated efficiency of foam fractionator. Completely randomize design with factorials was used. Four bubble, 0.057, 0.214, 0.365 and 0.782 cm and 4 water salinity, 0, 10, 20 and 30 psu were applied. Result of the showed that the best bubble size and salinity for suspension compound saparation were 0.214 cmand 30 psu, respectively. The second experimental was apply the results from the first experiment to artemia culture tank. The experimental treatment was compare between artemia cultured unit with and without foam fractionator. Result illustrated that foam fractionnator could decrease of 22.16% suspension compound, 19.15% ammonia, 16.19% nitrite, 16.75 nitrate, 19.09% total inorganic nitrogen and 30.26 orthophosphate and increase of 12.9% survival rate, 30.26% lengtg of nuaplius and 5.07% length of artemia. The consequence of this study can utilize for water treatment in aquacultural activities. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/839 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น