กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8101
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.advisorสุพิศ ศิริอรุณรัตน์
dc.contributor.authorสุกัญญา ตาแสงสา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:54:29Z
dc.date.available2023-05-12T06:54:29Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8101
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภข์องสามีวัยรุ่น ส่งผลดีต่อสุขภาพของทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติต่อการตั้งครรภ์การรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์การสนับ สนุนจากครอบครัวและความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ร่วมกัน มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือสามีวัยรุ่นของหญิงตั้งครรภ์ฝากครร์ ณ โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 85 ราย คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกและแบบสอบถาม แบบบันทึกคือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการตั้งครรภ์การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลหญิงตั้งครรภ์การสนับสนุนจากครอบครัวการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แบบสอบถาม 4 ชุดแรกมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .83, .92, .80 และ .85 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ได้ค่าความเชื่อมั่น Kuder Richardson-20 (KR-20) เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการตั้งครรภ์การรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์การสนับสนุนจากครอบครัวและความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ร่วมกัน ทำ นายการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่นร้อยละ 42.4 (R 2 = .424, F4, 80= 14.70, p< .001) ซึ่งการรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่นและร่วมกันทำนายการมีส่วนร่วมได้ร้อยละ 42.1 (R 2 = .421, F2, 82= 29.77, p< .001) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือการรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ (β = .62, p< .001) พยาบาลผดุงครรภ์ควรส่งเสริมให้สามีวัยรุ่นของหญิงตั้งครรภ์มีการรับรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยให้ความรู้แก่สามีวัยรุ่นเกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเตรียมพร้อมในการเป็นพ่อแม่ เป็นต้น เมื่อพาภรรยามาฝากครรภ์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น -- การดูแลที่บ้าน
dc.subjectครรภ์ -- การดูแลและสุขวิทยา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่น
dc.title.alternativeFctors influencing dolescent prtner involvement in cring for pregnnt women
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeFather involvement in caring for pregnant women positively affects both pregnant women’s and their fetus’s health. This predictive research aimed to examine factors (attitude toward pregnancy, perceived self-efficacy toward caring for pregnant women, family support and prenatal care knowledge) influencing adolescent partner involvement in caring for pregnant women. Participants were 85 adolescent partners of pregnant women receiving prenatal care service at Khonkaen hospital who met study inclusion criteria. Data were collected from April to May 2018 by record form and self-report questionnaires. Record form gathered personal information, questionnaires consisted of questionnaires regarding attitude toward pregnancy, perceived self-efficacy in caring for pregnant women, family support, involvement in caring for pregnant women, and prenatal care knowledge. Cronbach’s alpha coefficient of the first four questionnaires were .83, .92, .80 and .85, respectively. Reliability of prenatal care knowledge questionnaire was calculated by Kuder Richardson-20 (KR-20) resulting .82. Data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression. Results revealed that attitude toward pregnancy, perceived self-efficacy in caring for pregnant women, family support, and prenatal care knowledge altogether predicted for 42.4% of the variance in adolescent partner involvement in caring for pregnant women (R 2 = .424, F4, 80= 14.70, p< .001). Perceived elf-efficacy and prenatal care knowledge predicted for 42.1% (R 2 = .421, F2, 82= 29.77, p< .001)of the variance in involvement for which perceived self-efficacy was the best predictor of involvement (β = .62, p< .001). Midwives would promote adolescent partners of pregnant women to have increased selfefficacy in caring for pregnant women. This would be done by providing fathers health education about caring for pregnant women and preparing them to be parents.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น