กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8099
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.authorอารียา สมรูป
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:54:29Z
dc.date.available2023-05-12T06:54:29Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8099
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสำหรับมารดาวัยรุ่นหลังคลอดคือยาฝังคุมกำเนิด แต่พบว่า อัตราการใช้ยาฝังคุมกำเนิดยังต่ำ การวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกที่พักฟื้นแผนกหลังคลอดหรือมารับบริการแผนกวางแผนครอบครัว ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลบางละมุง จำนวน 134 ราย แบ่งเป็นมารดาที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดและที่ไม่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดกลุ่มละ 67 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการใช้ยาฝังคุมกำเนิดหลังคลอด แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด แบบสอบถามทัศนคติต่อยาฝังคุมกำเนิด และแบบสอบถามอิทธิพลของบุคคลสำคัญต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อิทธิพลของบุคคลสำคัญ (AOR = 1.11, 95 % CI = 1.05-1.17) โดยกลุ่มตัวอย่างที่บุคคลสำคัญสนับสนุนให้ใช้ยาฝังคุมกำเนิดมากจะมีการใช้ยาฝังคุมกำเนิดเป็น 1.11 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่บุคคลสำคัญสนับสนุนให้ใช้ยาฝังคุมกำเนิดน้อย ส่วนความรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด ทัศนคติต่อยาฝังคุมกำเนิด และการวางแผนมีบุตร พบว่า ไม่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์และบุคลากรด้านสุขภาพในหน่วยงาน แผนกหลังคลอดและวางแผนครอบครัวควรส่งเสริมให้บุคคลที่มีความสำคัญต่อมารดาวัยรุ่น มีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่มารดาวัยรุ่น เพื่อให้มารดาวัยมีการใช้ยาฝังคุมกำเนิดหลังคลอดและป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำที่อาจเกิดขึ้นได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคุมกำเนิด
dc.subjectยาคุมกำเนิด
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก
dc.title.alternativeFctors influencing postprtum contrceptive implnt use mong primiprous dolescents
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeContraceptive implants are the effective contraceptive of choice for postpartum adolescents. However, the use of contraceptive implants among adolescents is still low. This case-control study research aimed to determine factors influencing the use of postpartum contraceptive implants among primiparous adolescent mothers. The research participants were 134 primiparous adolescent mothers who were admitted at postpartum ward or who visited family planning department at Banglamung hospital and Queen Savang Vadhana Memorial hospital. They were recruited in the study by using convenience sampling technique. The research instruments were the personal information questionnaire, and the postpartum contraceptive implants record form, the knowledge on contraceptive implants questionnaire, the attitude toward contraceptive implants questionnaire, and the influence of important persons toward contraceptive implants use questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis. The results revealed that factor that significantly influenced the use of postpartum contraceptive implants was the influence of important persons (AOR = 1.11, 95 % CI = 1.05-1.17). It was indicating that participants who had high influences of important persons were 1.11 times more likely to use contraceptive implants than in those with low influence of important persons. Knowledge of contraceptive implants, attitude toward contraceptive implants, and plan more children were found to have no significant influence on contraceptive implants use. Findings of this study suggest that nurses and midwives at postpartum units and family planning clinic should include people who are important to adolescent mothers to participate in postpartum contraceptive counselling to increase the use of postpartum contraceptive implants and prevent repeated rapid pregnancies among adolescent mothers.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น